This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 C-001

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง (Safety In Working at Height And Rescue)

หลักการและเหตุผล

       กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔  ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจนความปลอดภัยตรวจสอบได้

          การทำงานบนที่สูงหรือทำงานต่างระดับที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานสายส่ง งานไฟฟ้า งานทำความสะอาด การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น  งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือที่ต่างระดับนี้ จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ ความเข้าใจ   สามารถปฏิบัติงานและใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานบนที่สูง

  • เพื่อให้ผู้ข้าอบรมสามารถเลือกใช้ และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรานส่วนบุคคลสำหรับการทำงานบนที่สูง ได้อย่างถูกต้อง

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตนในการทำงานบนที่สูงได้อย่างปลอดภัย

  • เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ลดการประสบอันตราย และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

หัวข้อการฝึกอบรม

          ภาคทฤษฎี : กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง  สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง  แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย

          ภาคปฏิบัติ :  การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม  การผูกเงื่อน และการตรวจสอบความปลอดภัย   วิธีการติดตั้งระบบจุดยึดในรูปแบบต่าง ๆ  การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนและหลังการใช้งานอย่างละเอียด   การไต่ขึ้น-ลงแนวดิ่ง  การไต่ขึ้น-ลงผ่านเงื่อนหรือผ่านสิ่งกีดขวางบนเชือก  การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนเชือก การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตกค้างอยู่กลางอากาศ  การกู้ภัย,การขนย้ายและเทคนิคการจัดทำแผนขนย้าย

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับที่สูง

  • ทีมงานดับเพลิงบนที่สูง ทีมกู้ภัยต่าง ๆ

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 20 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  2 วัน (12 ฃั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง (Safety In Working at Height And Rescue)

วันที่ ๑


เวลา

รายละเอียด

๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น.

ลงทะเบียน และทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม

๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.

-กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
-สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานบนที่สูง
-แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
สมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

-อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง
-การผูกเงื่อน และการตรวจสอบความปลอดภัย
-วิธีการติดตั้งระบบจุดยึดในรูปแบบต่าง ๆ
-การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนและหลังการใช้งานอย่างละเอียด
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

                             

วันที่ ๒


เวลา

รายละเอียด

๐๗.๓๐ - ๐๘.๐๐ น.

ลงทะเบียน

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

-การไต่ขึ้น – ลงแนวดิ่ง (Scending , Descending)
-การไต่ขึ้น – ลงโดยผ่านเงื่อนหรือผ่านสิ่งขีดขวางบนเชือก  (Passing-Through-Knot)
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

-การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนเชือก (Rope Rescue System)
-การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตกค้างอยู่กลางอากาศ  (Pick-Off Rescue System)
-แผนการกู้ภัย,การขนย้ายและเทคนิคการจัดทำแผนขนย้าย  (Rescue Plan , Handling Plan  Preparation)
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.

ตอบข้อซักถาม/สรุปผล และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๒๐-๑๐.๔๕ และเวลา ๑๔.๓๐-๑๔.๔๕ น.

               กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและระยะเวลา