1. นายจ้างให้ความสำคัญ
2. ทีมงานมาจาก อาสาสมัคร มากกว่า ถูกบังคับ
3. ลูกจ้างได้รับการอบรม
4. ฉลอง เมื่อประสบความสำเร็จ
5. บอกถึงเบื้องหลังของความสำเร็จ ให้ทุกคนทราบ
6. ตั้งเป้าหมายความปลอดภัยใหม่ ให้ท้าทายกว่าเดิม
ความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันทำให้เราได้ข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเแต่ละปีมีความชัดมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะผ่านสื่อออนไลน์ มีความง่ายในการค้นหาและชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO สะท้อนให้เราได้เห็นสถิติการเสียชีวิตเฉลี่ยถึง 2.78 ล้านคนต่อปี
นโยบาย Safety Thailand เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ทรงเห็นว่าคนที่เข้ามาในกระบวนการฟื้นฟูไม่ควรจะเกิดขึ้น หากสถานประกอบกิจการมีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ต้องสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้แรงงานแต่ละประเภท จึงควรป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานดีกว่าทำงานแล้วเกิดอุบัติเหตุ จึงมี กฎหมาย มาตรฐาน หรือ ข้อกำหนด ข้อแนะนำต่างๆที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนทำงานอย่างปลอดภัย Process Safety Management เป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดความรุนแรงไม่ให้เกิดวินาศภัย รวมถึงป้องกันอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสูญเสียจากการทำงาน และช่วยให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
โดยนายวิเลิศ เจติยานุวัตร (อนุกรรมการวิชาการ สสปท.)
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยายได้ที่ https://www.tosh.or.th/index.php/media-relations/e-book/item/527-checklist
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ร่วมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจังหวัดอุบลราชธานี ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานภาคอีสานตอนบน ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กำหนดจัดงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๖-๗ สิงหาคม ๒๕๖๒ โรงแรมสุนีย์แกรนด์ โฮเทล แอนคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์
© 2024 TOSH