T-OSH Application:
ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly Worker)
ด้วยประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีอัตราการเกิด (Fertility Rate) ต่ำลง ซึ่งผันแปรกับจำนวนประชากร ผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีอายุเฉลี่ยของประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการพัฒนาด้าน การแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้สังคมโลกเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completed Aged Society) ตามลำดับ จากผลการสำรวจ กลุ่มความต้องการในการทำงานของกลุ่มแรงงานหลังเกษียณ (ช่วงอายุ 60-80 ปี) จากกระทรวงแรงงาน พบว่า ร้อยละ 28.4 ยังมีความต้องการในการทำงาน ซึ่งแนวโน้มของกลุ่มอาชีพที่กลุ่มแรงงานวัยเกษียณที่จะดำเนินการประกอบอาชีพต่อ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกาย สรีรวิทยา และจิตใจของผู้สูงอายุ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและความปลอดภัยในการทำงานของผู้สูงอายุ ดังนั้นการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของการทำงาน เช่น อันตรายทางกายภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางชีวกลศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อม สำหรับการทำงานในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างปลอดภัย อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในการปฏิบัติงานอีกด้วย
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้จัดทำ T-OSH Application : OSH Self-Screening System for prepare to elderly worker ระบบประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่แรงงานผู้สูงอายุอย่างปลอดภัยขึ้นในรูปแบบ Web-Application ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน Internet Browser ของท่านทั้งในคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลต เพื่อประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำเบื้องต้นป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในแรงงานผู้สูงอายุ และส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในการปฏิบัติงานอีกด้วย
T-OSH Application: ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly Worker) นี้เป็นเครื่องมือ Checklist สำหรับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุ จัดทำขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพัฒนาขึ้นเป็นระบบเว็บแอปพลิเคชันโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความเสี่ยงในการทำงาน เตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะทำงานต่อนำไปพิจารณาตัดสินใจในการทำงานปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการทำงาน หรือดูแลร่างกายตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ระบบนี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่มีความสนใจและต้องการที่จะทำงานต่อหลังจากการเกษียณอายุงาน
แบบประเมินนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
Part A : ข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อคำถาม
Part B : ความเสี่ยงในการทำงาน และลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 11 ข้อคำถาม
Part C : ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 6 ด้าน ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกายภาพ ความเสี่ยงด้านชีวภาพ ความเสี่ยงด้านเคมี ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ความเสี่ยงด้านจิตสังคม และความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหมด 30 ข้อคำถาม
โดยหลังจากการประเมินนี้จะแสดงระดับความเป็นอันตรายออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงค่อนข้างสูง และความเสี่ยงสูงมาก หลังจากประเมินแล้วระบบจะแสดงข้อแนะนำที่เหมาะสมในการป้องกันการประสบอันตรายที่เกิดขึ้น