This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

 

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) 

          เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช 2556 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ การมีส่วนร่วม และการใช้หลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารองค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล อันจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ ศรัทธา และไว้วางใจในการบริหารองค์การ

          สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี ซึ่งประกอบด้วยนโยบายหลัก 4 ด้าน คือ ด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านองค์การ และด้านผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงแนวทางปฏิบัติตามนโยบายด้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ และเป็นค่านิยมร่วมสำหรับองค์การและบุคลากรทุกคน พึงยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติควบคู่กับกฎ ข้อบังคับอื่นๆอย่างทั่วถึง

          การจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของสถาบันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)นับเป็นการสนองตอบต่อนโยบายของรัฐและแนวคิดธรรมาภิบาล โดยมีภาพรวม ดังนี้

  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 74 กำหนดให้ “บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง” และมาตรา 78 (4) และ (5) รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้

(4) พัฒนาระบบภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ

(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน

  • การกำหนดให้มีการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเองที่ดีหรือธรรมาภิบาลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนปลงระบบบริหารราชการแผ่นดินของไทย ดังเจตนารมณ์ที่ปรากฏอย่างชัดเจนในมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มุ่งเน้นให้ส่วนราชการใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ กล่าวคือ

“การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจการตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน

       การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคที่หนึ่ง  ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของภารกิจ  เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้ จะตราพระรากฤษฎีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้” และตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มุ่งเน้นให้ส่วนราชการใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น ให้มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อเหตุการณ์ ให้ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ และให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

  • คำแถลงนโยบายรัฐบาลของคณะรัฐมนตรีต่อสภา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ได้กล่าวถึง การสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรมและส่งเสริมเสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ  การวัดระบบงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็วมีประสิทธิภาพ โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้และส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารผลงานและสมรรถนะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการส่งมอบบริการสาธารณะ พร้อมทั้งการพัฒนาข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการรุ่นใหม่ที่จะต้องเป็นกำลังสำคัญของภาคราชการใรอนาคต

  • สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2574 จนถึงปัจจุบัน โดยได้จัดทำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ส่วนราชการต่างๆนำไปใช้ในการยกระดับพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการให้เป็นหน่วยงานที่มีผลปฏิบัติงานสูง และมีมาตรฐานการทำงานเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล ซึ่งในเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1 การนำองค์การนั้น ส่วนหนึ่งได้ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลตนเองที่ดี โยดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบ ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและดำเนินการอย่างมีจริยธรรมรวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการส่งเสริมให้บุคลากรเป็นทั้งคนเก่งและคนดี มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล ประพฤติตนต่อเพื่อนร่วมงานด้วยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมถึงการใช้ทรัพยากรขององค์การอย่างมีอย่างมีความรับผิดชอบแล้ว บุคลากรในองค์การต้องมีการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ผู้บริหารควรมีการกำหนดกรอบในการตรวจสอบการปฏิบัติตนของบุลากรในองค์การว่าเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เช่น มีการดูแลต่อ ผู้รับบริการอย่างซื่อสัตย์สุจริต ให้เกียรติ เป็นธรรม รวมถึงการรักษาปกป้องไม่ให้องค์การดำเนินการในทางที่มีความเสี่ยงต่อศักดิ์ศรีหรือสิ่งไม่ดีใดๆ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

          เพื่อให้การปฏิบัติงานของสถาบันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย การจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีจึงได้ยึดหลักการที่สำคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

  • เพื่อเป็นนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับส่งเสริมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในหน่วยงานและสามารถนำไปปฏิบัติและติดตามผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

  • เพื่อใช้เป็นแนวทางตรวจสอบธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ ของกรม ทั้งนี้ เพื่อมิให้เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน อันจะทำให้เกิดการสูญเสียต่อรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม องค์การ ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ปฏิบัติงานภายในกรม

  • เพื่อสร้างการยอมรับ ความน่าเชื่อถือความมั่นใจและศรัทธาให้เกิดขึ้นกับสังคม ชุมชน ผู้รับบริการ ประชาชนทั่วไป ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภายในและภายนอกองค์การ และผู้ปฏิบัติงานภายในองค์การ

  • เพื่อให้บุคลากรภายในองค์การได้ทราบและมีความเข้าใจไปในแนวทางเดียวกันถึงเจตนารมณ์ขององค์การ สำหรับยึดเป็นหลักการและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนรวมทั้งสามารถใช้เป็นแนวทางการติดตามประเมินผลด้านธรรมาภิบาลขององค์การ

  

นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

          เพื่อแสดงความมุ่งมั่นต่อการบริหารราชการตามแนวธรรมาภิบาล สถาบันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)ได้กำหนดนโยบายหลักและแนวทางปฏิบัติภายใต้กรอบนโยบายด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน ดังนี้

1. นโยบายด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นโยบายหลัก : ยึดมั่นในหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศชาติและสังคม

แนวทางปฏิบัติ :

1. กำหนดมาตรการที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

2. รณรงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ

 

2. นโยบายด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

นโยบายหลัก : มุ่งมั่นให้บริการด้วยความโปร่งใส สุจริต โดยไม่เลือกปฏิบัติ

แนวทางปฏิบัติ : 1. รักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการต่อผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  1. ให้บริการข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายที่รวดเร็ว และถูกต้อง
  2. มีมาตรการติดตามการให้บริการของบุคลากร
  3. จัดทำโครงการให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินงานนโยบายด้านองค์การ

นโยบายหลัก : ส่งเสริมให้เกิดระบบคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติราชการ

แนวทางปฏิบัติ :

1. ปลุกจิตสำนึกของบุคลากรให้มีคุณธรรมและจริยธรรม

2. ส่งเสริมบุคลากรให้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีในการมีคุณธรรมและจริยธรรม

 

3. นโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน

นโยบายหลัก : พัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

แนวทางปฏิบัติ :

1. วางระบบการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง

2. ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนให้บุคลากรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดชีวิตการปฏิบัติงาน 

 

แนวทางส่งเสริมและผลักดันการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

          เพื่อให้การปฏิบัติงานมีผลดีตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จึงกำหนดหลักการปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้

  • สถาบันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จะสื่อสารให้บุคลากรทุกระดับของกรมได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีอย่างทั่วถึง

  • สถาบันสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จะจัดระบบบริหารธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรและองค์การจะปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

  • ผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาของกรมทุกระดับมีหน้าที่สอดส่องดูแล และให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นให้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีฉบับนี้

  • นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีฉบับนี้ จะได้รับการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ

  • สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จะกำหนดแนวทางวัดและประเมินการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ต่อไปอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีการประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ