This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

หลักสูตรอบรม In-House

หลักสูตร มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 M-001

หลักสูตร มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  (T-OSH OSHMS : 2019)

หลักการและเหตุผล

       สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำและประกาศมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สสปท.1-4-01-00-2562) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการจัดทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การมีพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน และสอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป นายจ้างจะต้องจัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัย  

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อกำหนดในการตรวจประเมินระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

หัวข้อการฝึกอบรม

  • ส่วนที่ 1 ที่มาและความสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (30 นาที)

  • ส่วนที่ 2 มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  (1 ชั่วโมง)

  • ส่วนที่ 3 ข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (4.30 ชั่วโมง)

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามหมวดหัวข้อบรรยาย หรือที่ปรึกษา สสปท.

  • เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • สถานประกอบกิจการทุกขนาด บุคลากรด้านความปลอดภัยฯ

  • ผู้ที่สนใจทั่วไป

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 50 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  1 วัน (6 ชั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน  (T-OSH OSHMS : 2019)

เวลา

รายละเอียด

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน และทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม

09.00-09.30 น.

ที่มาและความสำคัญมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (T-OSH OSHMS : 2019)

·    วิทยากรของ สสปท.

09.30-10.30 น.

ข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (T-OSH OSHMS : 2019)

-นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

10.30-10.45 น.

พัก 15 นาที

10.45-12.00 น.

ข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (T-OSH OSHMS : 2019)

-โครงสร้างการบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

·    วิทยากรของ สสปท.

12.00-13.00 น.

 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30   น.

ข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (T-OSH OSHMS : 2019) (ต่อ)

-แผนงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำไปปฏิบัติ

·    วิทยากรของ สสปท.

14.30-14.45 น.

พัก 15 นาที

14.45-16.15 น.

ข้อกำหนดมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (T-OSH OSHMS : 2019) (ต่อ)

-การประเมินผลและทบทวนการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-การดำเนินการปรับปรุงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

·     วิทยากรของ สสปท.

16.15-16.30 น.

ตอบข้อซักถาม และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม

ประเมินผลการฝึกอบรม

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

 

หลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรณีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตาม พรบ.ความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554

 M-002

หลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรณีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

หลักการและเหตุผล

        อ้างถึงประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมวด 1   ข้อ 2 ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมแก่ลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย โดยให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงาน กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างได้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหรือยอมรับได้

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการฝึกอบรม

  • ส่วนที่ 1 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (1.30 ชั่วโมง)

  • ส่วนที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (1.30 ชั่วโมง)

  • ส่วนที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ (3 ชั่วโมง)

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามหมวดหัวข้อบรรยาย

  • เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • ลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ของสถานประกอบกิจการ

  • ผู้สนใจงานด้านความปลอดภัยฯ 

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 50 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  1 วัน (6 ฃั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรณีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

เวลา

รายละเอียด

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน และทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม

09.00-10.30 น.

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • วิทยากรของ สสปท.

10.30-10.45 น.

พัก 15 นาที

10.45-12.15 น.

กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • วิทยากรของ สสปท.

12.15-13.00 น.

 พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • วิทยากรของ สสปท.

14.30-14.45 น.

พัก 15 นาที

14.45-16.15 น.

ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ต่อ)

  • วิทยากรของ สสปท.

16.15-16.30 น.

ตอบข้อซักถาม และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
ประเมินผลการฝึกอบรม

 

หลักสูตรการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาสต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 A-002

หลักสูตรการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หลักการและเหตุผล

        ในปัจจุบันการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการเติบโตของธุรกิจการมีภาพลักษณ์ที่ดีในด้านคุณภาพของสินค้า ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องทราบถึงความเสี่ยงและโอกาสที่จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงและโอกาสที่มาจากปัจจัยภายใน และภายนอกองค์กร ตลอดจนการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น

         การวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้สถานประกอบกิจการสามารถกำหนดความเสี่ยงและโอกาส โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนอกจากนี้ยังพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสจากข้อกำหนดด้านความปลอดภัยฯ ที่องค์กรนำมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการในการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่ได้ทำการชี้บ่งไว้ ตลอดจนการกำหนดวิธีการในการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสที่องค์กรเห็นว่าส่งผลกระทบต่อการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ขององค์กร

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถเข้าใจบริบทขององค์กร โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กรได้

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถกำหนดความเสี่ยงอื่น ๆ และโอกาสอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้สถานประกอบกิจการทำการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่ได้จากปัจจัยภายในและภายนอก ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ตลอดจนความเสี่ยงและโอกาสอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อทำการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หัวข้อการฝึกอบรม

  • การวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (60 นาที)

  • บริบทขององค์กร (60 นาที)

  • แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (90 นาที)

  • แนวทางการจัดการความเสี่ยงและโอกาส (60 นาที)

  • การฝึกปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (60นาที)

  • การวัดและประเมินผล (30 นาที)

 

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยในการทำงาน (การวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาสต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน)

  • เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ

  • ผู้บริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ผู้จัดการ หัวหน้างาน

  • นักวิเคราะห์นโยบายและและแผนของสถานประกอบกิจการ

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  1 วัน (6 ชั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เวลา

รายละเอียด

08.30 – 09.00 น.

ลงทะเบียน

09.00 – 10.00 น.

การวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• ขั้นตอนการวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส ต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

10.30 – 11.00 น.

บริบทขององค์กร

• การกำหนดปัจจัยภายในและภายนอกขององค์กร

• เครื่องมือในการกำหนดปัจจัยภายในและภายนอกขององค์กร

• การพิจารณาประเด็นภายในและภายนอกที่ส่งผลต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• การกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร

• ความต้องการกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกองค์กร

• ความเสี่ยงและโอกาสประเภทอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

11.00 – 12.00 น.

แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงและโอกาส

• แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสจากบริบทขององค์กรความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประเภทอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• การจัดทำทะเบียนความเสี่ยงและโอกาสจากผลการวิเคราะห์องค์กร

13.00 – 13.30 น.

แนวทางการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

• การจัดทำทะเบียนความเสี่ยงและโอกาสจากผลการวิเคราะห์องค์กร

13.30 – 14.30 น.

แนวทางการจัดการความเสี่ยงและโอกาส

14.30 – 15.30 น.การฝึกปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
15.30 – 16.00 น.การวัดและประเมินผล

 

หลักสูตรการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 A-001

หลักสูตรการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Risk Management for Occupational Safety and Health)

หลักการและเหตุผล

        การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นข้อกำหนดหนึ่งของมาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยหลักสูตรดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่สถานประกอบกิจการหรือหน่วยงานทุกประเภท รวมถึงเป็นแนวทางให้บุคลากรด้านความปลอดภัย ดำเนินการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง เพื่อนำไปสู่การจัดการเพื่อการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการฝึกอบรม

  • ส่วนที่ 1 คำนิยามที่เกี่ยวข้องและการดำเนินการจัดการความเสี่ยง

  • ส่วนที่ 2 การชี้บ่งอันตราย

      - หลักการ วิธีการชี้บ่งอันตรายและตัวอย่างการชี้บ่งอันตราย
      - การเลือกใช้เครื่องมือในการชี้บ่งอันตรายที่เหมาะสมกับลักษณะงาน         

  • ส่วนที่ 3 การประเมินความเสี่ยง

  • ส่วนที่ 4 การจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง

  • ส่วนที่ 5 การทบทวนการจัดการความเสี่ยง

วิทยากร

  • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามหมวดหัวข้อบรรยาย หรือที่ปรึกษา สสปท.

  • เจ้าหน้าที่สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยฯ หรือผู้ที่สนใจ

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 30,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  1 วัน (6 ฃั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(Risk Management for Occupational Safety and Health)

เวลา

รายละเอียด

08.30-09.00 น.

ลงทะเบียน และทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม

09.00-10.30 น.

- คำนิยามที่เกี่ยวข้องและการดำเนินการจัดการความเสี่ยง
- การชี้บ่งอันตราย

  • วิทยากร สสปท.

10.30-10.45 น.

พัก 15 นาที

10.45-12.00 น.

การชี้บ่งอันตราย (ต่อ)

  • วิทยากร สสปท.

12.00-13.00 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.

การประเมินความเสี่ยง

  • วิทยากร สสปท.

14.30-14.45 น.

พัก 15 นาที

14.45-16.00 น.

- การจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง
- การทบทวนการจัดการความเสี่ยง

  • วิทยากร สสปท.

16.00-16.30 น.

ตอบข้อซักถาม และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม
ประเมินผลการฝึกอบรม

 

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง

 C-001

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง (Safety In Working at Height And Rescue)

หลักการและเหตุผล

       กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. ๒๕๖๔  ข้อ ๒ นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน และการป้องกันและควบคุมอันตราย รวมทั้งต้องอบรมหรือชี้แจงให้ลูกจ้างได้รับทราบก่อนเริ่มปฏิบัติงานและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และต้องมีเอกสารดังกล่าวไว้ให้พนักงานตรวจนความปลอดภัยตรวจสอบได้

          การทำงานบนที่สูงหรือทำงานต่างระดับที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษา งานสายส่ง งานไฟฟ้า งานทำความสะอาด การช่วยเหลือกู้ภัย หรือแม้กระทั่งการทำงานในหลุม บ่อ เป็นต้น  งานที่ต้องเสี่ยงกับการตกจากที่สูงหรือที่ต่างระดับนี้ จำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ ความเข้าใจ   สามารถปฏิบัติงานและใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานบนที่สูง

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานบนที่สูง

  • เพื่อให้ผู้ข้าอบรมสามารถเลือกใช้ และใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรานส่วนบุคคลสำหรับการทำงานบนที่สูง ได้อย่างถูกต้อง

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตนในการทำงานบนที่สูงได้อย่างปลอดภัย

  • เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ลดการประสบอันตราย และความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

หัวข้อการฝึกอบรม

          ภาคทฤษฎี : กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง  สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง  แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย

          ภาคปฏิบัติ :  การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและการเลือกใช้งานอย่างเหมาะสม  การผูกเงื่อน และการตรวจสอบความปลอดภัย   วิธีการติดตั้งระบบจุดยึดในรูปแบบต่าง ๆ  การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนและหลังการใช้งานอย่างละเอียด   การไต่ขึ้น-ลงแนวดิ่ง  การไต่ขึ้น-ลงผ่านเงื่อนหรือผ่านสิ่งกีดขวางบนเชือก  การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนเชือก การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตกค้างอยู่กลางอากาศ  การกู้ภัย,การขนย้ายและเทคนิคการจัดทำแผนขนย้าย

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับที่สูง

  • ทีมงานดับเพลิงบนที่สูง ทีมกู้ภัยต่าง ๆ

ราคาค่าธรรมเนียมในการให้บริการ

  •  ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท (จำกัดไม่เกิน 20 คนต่อรุ่น)

วิธีและรูปบบการฝึกอบรม

  • บรรยาย กรณีศึกษา และฝึกปฏิบัติการ (ถ้ามี)

  • การทดสอบความรู้ความเข้าใจ ก่อน-หลังการฝึกอบรม

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

  •  2 วัน (12 ฃั่วโมง)

การวัดผลและการประเมินผล

  • ผู้เข้าอบรมต้องเข้าร่วมอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

  • ผู้เข้าอบรมต้องทำข้อสอบประเมินผล โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองการอบรม

กำหนดการฝึกอบรม

หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง (Safety In Working at Height And Rescue)

วันที่ ๑


เวลา

รายละเอียด

๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น.

ลงทะเบียน และทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรม

๐๘.๓๐ - ๑๒.๐๐ น.

-กฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับการทำงานบนที่สูง
-สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและอันตรายในการทำงานบนที่สูง
-แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยและวิธีการทำงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย
สมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.

-อุปกรณ์และเครื่องมือเกี่ยวกับการป้องกันการตกจากที่สูง
-การผูกเงื่อน และการตรวจสอบความปลอดภัย
-วิธีการติดตั้งระบบจุดยึดในรูปแบบต่าง ๆ
-การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนและหลังการใช้งานอย่างละเอียด
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

                             

วันที่ ๒


เวลา

รายละเอียด

๐๗.๓๐ - ๐๘.๐๐ น.

ลงทะเบียน

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

-การไต่ขึ้น – ลงแนวดิ่ง (Scending , Descending)
-การไต่ขึ้น – ลงโดยผ่านเงื่อนหรือผ่านสิ่งขีดขวางบนเชือก  (Passing-Through-Knot)
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

-การช่วยเหลือผู้ประสบภัยบนเชือก (Rope Rescue System)
-การช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ตกค้างอยู่กลางอากาศ  (Pick-Off Rescue System)
-แผนการกู้ภัย,การขนย้ายและเทคนิคการจัดทำแผนขนย้าย  (Rescue Plan , Handling Plan  Preparation)
วิทยากรสมาคมความปลอดภัยภาคใต้

๑๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น.

ตอบข้อซักถาม/สรุปผล และทดสอบความรู้ความเข้าใจหลังการอบรม

หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๒๐-๑๐.๔๕ และเวลา ๑๔.๓๐-๑๔.๔๕ น.

               กำหนดการอาจปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและระยะเวลา