This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

แนวปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร


ชื่อหนังสือ
:  แนวปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร (Guidelines for Managing Occupational Safety and Health of Food Delivery  Motorcycle) (สสปท. 3-6-07-01-00-2566)

ชื่อผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร

ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2566

จัดทำโดย : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

ISBN (E-Book) : 978-616-8026-33-5

         การพัฒนาที่รวดเร็วของข้อมูลที่เชื่อมโยงกันจากเทคโนโลยี ทำให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจ (Business Model) ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม (Platform)  ซึ่งเป็นตัวกลางทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างลูกค้าไปยังผู้ประกอบการ รวบรวมร้านอาหารไว้ด้วยกัน และให้บริการส่งอาหารแก่ผู้บริโภคผ่านแอปพลิเคชัน เช่น  โรบินฮู้ด (Robinhood) ไลน์แมน (Line Man)  แกร็ปฟู๊ด (Grab Food) และ ฟู้ดแพนด้า (Food Panda) เป็นต้น อีกทั้งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนส่วนใหญ่นิยมสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันและใช้บริการส่งอาหาร (Delivery) เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ต้องการความรวดเร็วและความสะดวกสบาย ทำให้ธุรกิจส่งอาหารได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลายจึงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เห็นได้จากข้อมูลตลาดบริการส่งอาหารในช่วงปี 2557-2565 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมูลค่าจาก 42,000 ล้านบาท ไปเป็น 99,000 ล้านบาท (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2565) จากข้อมูลดังกล่าว ธุรกิจส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะเดียวกันการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหารมีความเสี่ยงและอันตรายในการประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานที่แข่งกับเวลา ทำให้ต้องใช้ความเร็วในการขับขี่ หากมีการจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ขับขี่ที่ดี ความเสี่ยงในการประสบอุบัติเหตุก็สามารถลดลงตามไปด้วย

         ดังนั้น สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. ตระหนักถึงความสำคัญของธุรกิจส่งอาหารที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร จึงจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร (Guidelines for Managing Occupational Safety and Health of Food Delivery Motorcycle)  เพื่อใช้เป็นแนวทางการทำงานให้เกิดความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร และเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม หรือจัดทำเป็นนโยบายด้านความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ส่งอาหาร

เข้าชม 4878 ครั้ง