ชื่อหนังสือ : คู่มือระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สสปท : 2566 (T-OSH Occupational Safety, Health and Environment Management System Manual: 2023)
ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2567
จัดทำโดย : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
คู่มือระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สสปท. : 2566 จัดทำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565 และให้เหมาะสมกับระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานประกอบกิจการนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับ กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว และดำเนินการในการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและสามารถพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการสู่มาตรฐานสากลได้ต่อไป
ชื่อหนังสือ : คู่มือการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงท่าทางปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ (Manual for Ergonomic Risk Assessment and Improvement of Computer Work Posture)
ชื่อผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงท่าทางปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์
ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2566
จัดทำโดย : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)
ISBN (E-Book) : 978-616-8026-35-9
มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของท่าทางการปฏิบัติงานในลักษณะสถิต (สสปท. 1-4-05-02-00-2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้สถานประกอบกิจการทราบข้อกำหนดต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการประเมินความเสี่ยง และมีความรู้เกี่ยวกับท่าทางปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถดำเนินการประเมินความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และนำผลการประเมินไปปรับปรุงระบบงานและท่าทางปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานให้เหมาะสมได้ การปฏิบัติงานในท่าทางที่ไม่เหมาะสมและอย่างต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติที่ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก (Musculoskeletal Disorders; MSDs) ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สถานประกอบกิจการจำเป็นต้องนำหลักการด้านการยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงท่าทางปฏิบัติงาน โดยต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบงาน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงาน งานที่ปฏิบัติ สภาพแวดล้อมในบริเวณทำงาน และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งต้องประเมินท่าทางปฏิบัติงานและความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่งผลจากการประเมินความเสี่ยงของท่าทางปฏิบัติงานนั้นจะช่วยให้ทราบสาเหตุของปัญหาและสามารถเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งช่วยเอื้ออำนวยให้คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานดีขึ้น สามารถปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างสะดวกสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
ในสถานประกอบกิจการทุกแห่ง ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเป็นจำนวนมากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน โดยที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่นั่งปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และระยะเวลาสะสมในการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ยาวนานหลายชั่วโมงต่อวัน ถ้าสถานีงานคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในบริเวณทำงาน และพฤติกรรมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานมีความไม่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานนั่งทำงานคอมพิวเตอร์ในท่าทางที่ไม่ถูกต้อง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการผิดปกติที่ระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกได้
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงและปรับปรุงท่าทางปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ตามหลักการยศาสตร์ขึ้น โดยอ้างอิงถึงข้อกำหนดต่าง ๆ และวิธีการประเมินความเสี่ยงที่ระบุในมาตรฐานฯ ฉบับดังกล่าว
ชื่อหนังสือ : คู่มือการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (T-OSH Manual on Process Safety Management)
ชื่อผู้แต่ง : คณะทำงานจัดทำคู่มือการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2565
ครั้งที่พิมพ์ : ครั้งที่ 1
ISBN (E-Book) : 978-616-8026-30-4
สถานประกอบกิจการที่มีกระบวนการผลิตและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย ก๊าซไวไฟ และของเหลวไวไฟมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติภัยร้ายแรงในระดับที่แตกต่างกัน อุบัติภัยร้ายแรงจากกระบวนการผลิตซึ่งได้แก่ การระเบิด เพลิงไหม้ และการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และทรัพย์สิน มีสาเหตุพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ที่มีการรั่วไหลของสารเคมีอันตราย ก๊าซไวไฟและของเหลวไวไฟ จากกระบวนการผลิต การจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวและมาตรการลดผลกระทบจากการเกิดเหตุการณ์นั้น จะช่วยให้กิจกรรมของกระบวนการผลิตของสถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยและเชื่อมั่นได้ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้จัดทำคู่มือการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Standard for Process Safety Management) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้มีองค์ความรู้ และแนวทางการจัดการความปลอดภัยที่เป็นระบบเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดการจัดทำและพัฒนามาตรการในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยให้กิจกรรมของกระบวนการผลิตของสถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยและเชื่อมั่นได้ การจัดทำคู่มือฯ ฉบับนี้ ใช้สาระสำคัญของ Center for Chemical Process Safety (CCPS),American Institute of Engineering (2010), Guidelines for Risk-Based Process Safety เป็นหลัก
ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตรา 16 กำหนดให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ให้แก่ลูกจ้างระดับบริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างในทุกระดับ กรณีที่ นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมกับสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดหรือยอมรับ
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ จึงได้จัดทำหลักสูตรความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดไว้ในประกาศ เพื่อให้สถานประกอบกิจการหรือหน่วยงาน สามารถนำคู่มือพร้อมวิดีโอประกอบการสอนนี้ ไปจัดอบรมให้กับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้สถานที่ปฏิบัติงานมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
1. หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
2. หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ
3. หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัยฯ
หัวข้อวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
หัวข้อวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัยฯ (วิดีโออยู่ระหว่างปรับปรุงเนื้อหาบางส่วน)
หัวข้อวิชาที่ 3 ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
© 2024 TOSH