This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

      วันที่ 23 กันยายน 2567 เวลา 14.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการมอบนโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 "หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นทักษะทันสมัย คนไทยมีงานทำ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เศรษฐกิจแรงงานไทยมั่นคง" และเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 หลังจากนั้นได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้เกษียณอายุราชการ ปี 2567 ของกระทรวงแรงงาน โดยมี นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมด้วย นายเอกชาติ นาคาไชย รองผู้อำนวยการ (บริหาร) นายบัญชา ศรีธนาอุทัยกร รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) ผู้บริหาร สสปท. ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ร่วมในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

นโยบายกระทรวงแรงงานหลัก ประจำปีงบประมาณ 2568  ภายใต้แนวคิด “หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นทักษะทันสมัย คนไทยมีงานทำ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เศรษฐกิจแรงงานไทยมั่นคง” ประกอบด้วย

1) หลักประกันทางสังคมเด่น คือ การดูแลสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงาน การสร้างเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมอย่างยั่งยืน

2) เน้นทักษะทันสมัย คือ การยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม เช่น ทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ทักษะการใช้ภาษาที่ 2 และ 3 รวมถึง BCG

3) คนไทยมีงานทำ คือ การส่งเสริม และการสร้างโอกาสในการทำงานในประเทศและต่างประเทศ สำหรับคนไทยในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง กลุ่มแรงงานในอนาคต

4) สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย คือ การพัฒนากฎหมายที่มีความทันสมัย และ สอดคล้องต่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์อันสูงสุดต่อแรงงานทุกคน พร้อมการบังคับใช้กฎหมายแรงงานและการสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อดูแลสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกกลุ่มอย่างมีมาตรฐาน และ

5) เศรษฐกิจแรงงานไทยมั่นคง คือ การทำงานอย่างบูรณาการระหว่าง หน่วยงานภายในกระทรวงแรงงาน ภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน เพื่อการขยายผลและขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล พร้อมการยกระดับกระทรวงแรงงานเป็นหนึ่งในกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อการสนับสนุนการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม พร้อมการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลทุนมนุษย์มาใช้เพื่อการวางแผนยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ