This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
phitsanoo

phitsanoo

 วันที่ : 7-8 พฤศจิกายน 2566    สถานที่อบรม :  โรงแรม แคนทารี อมตะ บางปะกง  จังหวัดชลบุรี

วันอังคาร, 31 ตุลาคม 2566 09:18

OSHE Magazine ฉบับที่ 26

 

วันจันทร์, 30 ตุลาคม 2566 11:09

Mindset ด้านความปลอดภัยในการทำงาน


ชื่อหนังสือ
งานวิจัยการสำรวจปัจจัยด้านความปลอดภัยในการทำงานของผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล

ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2566

จัดทำโดย : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

        การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นที่จะสำรวจปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อการประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ และพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างแบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อใช้ในการสำรวจประชากรสูงอายุที่ยังประกอบอาชีพทั้งในและนอกระบบจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการใช้แบบสอบถามที่มีการวัดความเที่ยง และความน่าเชื่อถือ ผลที่ได้จะรายงานในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา และนำผลไปพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงในผู้สูงอายุ


ชื่อหนังสือ
งานวิจัยการศึกษามวลอ้างอิงสำหรับการพิจารณาขีดจำกัดน้ำหนักยกที่แนะนำ ให้ทำงานได้ด้วยแรงกายของคนหนึ่งคนในกลุ่มคนงานผู้เยาว์

ปีที่พิมพ์ : ปี พ.ศ. 2566

จัดทำโดย : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน)

        งานยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายเป็นสาเหตุหลักของการเกิดความล้าและการบาดเจ็บหลังส่วนล่างจากการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามวลอ้างอิงสำหรับการพิจารณาขีดจำกัดน้ำหนักยกที่แนะนำให้ทำงานได้และการรับรู้ความหนักเหนื่อยด้วยแรงกายของคนหนึ่งคนในกลุ่มคนงานผู้เยาว์ด้วยวิธีจิตฟิสิกส์ ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเพศชาย 23 คน เพศหญิง 27 คน ในการยก 5 ความถี่ในแนวระนาบ (ความถี่ที่ 5 10 15 30 และ 60 วินาทีต่อครั้งโดยใช้เทคนิคการยกของ NIOSH ผลการศึกษาพบว่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้จากการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของ จำแนกตามความถี่ 5 10 15 30 และ 60 วินาทีต่อครั้ง มีค่าเท่ากับ 1.50 2.22 3.00 4.50 และ 5.45 กิโลกรัม ตามลำดับ ระดับความรู้สึกปวดเมื่อยล้าจากการยกย้ายของของอาสาสมัคร พบว่าในการยกความถี่ที่ 5 วินาทีต่อครั้ง อาสาสมัครเพศชายและเพศหญิงมีความเหนื่อยล้าสูงสุด มีค่าเฉลี่ย 5.48 และ 4.63 ตามลำดับ มวลอ้างอิงที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อแนะนำสำหรับการทำงานยกอย่างปลอดภัย

วันพุธ, 25 ตุลาคม 2566 13:32

SAFETY in Mind