This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 02 พฤศจิกายน 2566 15:59

ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง


     เทศกาลลอยกระทง เป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดอุบัติภัยสูง ทั้งการจมน้ำ อันตรายจากพลุ ดอกไม้ไฟ และโคมลอย
ควรลอยกระทงในท่าน้ำหรือโป๊ะเรือที่มีสภาพปลอดภัย ตลิ่งน้ำไม่สูงชัน มีรั้วกั้นป้องกัน เพื่อป้องกันการลื่นไถลพลัดตกน้ำ รวมถึงระมัดระวังการเล่นพลุหรือดอกไม้ไฟ ไม่เล่นในลักษณะเสี่ยงอันตราย ปล่อยโคมลอยบริเวณ ที่โล่งแจ้ง และไม่อยู่บริเวณสนามบิน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ  ข้อควรปฏิบัติที่สำคัญในการป้องกันอันตรายจากอุบัติภัยในช่วงเทศกาลวันลอยกระทง ดังนี้

 

   อุบัติภัยทางน้ำ   

•  ลอยกระทงบริเวณท่าน้ำและโป๊ะเรือที่มีความมั่นคงแข็งแรง ซึ่งมีที่กั้นหรือราวจับป้องกันการพลัดตก

•  ไม่ให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือริมตลิ่งตามลำพัง รวมทั้งจับมือเด็กให้แน่นขณะเดินบริเวณริมน้ำ

•  ไม่ให้เด็กลงเก็บเงินในกระทง เพื่อป้องกันเด็กจมน้ำเสียชีวิต

•  ไม่ลงไปในโป๊ะหรือเรือที่มีคนจำนวนมาก เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย

•  รอเรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อย ค่อยเดินขึ้น - ลงเรือ และสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลาขณะโดยสารเรือ

   อุบัติภัยจากพลุ และดอกไม้ไฟ   

•  อยู่ห่างจากบริเวณที่จุดพลุหรือดอกไม้ไฟในระยะไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เพื่อป้องกันอันตรายจากสะเก็ดไฟ

•  เล่นพลุ ดอกไม้ไฟในบริเวณที่ปลอดภัย ห่างจากแนวสายไฟฟ้า แหล่งชุมชน สถานีบริการน้ำมัน และวัตถุไวไฟ

•  ไม่นำพลุ หรือดอกไม้ไฟที่จุดไม่ติดมาจุดไฟซ้ำ เพราะอาจระเบิด ทำให้เกิดอันตรายได้

•  ไม่ดัดแปลงพลุหรือดอกไม้ไฟให้มีเสียงดังหรือแรงอัดสูง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้

•  ไม่นำภาชนะปิดครอบพลุหรือดอกไม้ไฟที่จุดไฟติดแล้ว เพื่อป้องกันอันตรายจากเศษภาชนะกระเด็นใส่

   อุบัติภัยจากโคมลอย  

•  ปล่อยโคมลอยในที่โล่งแจ้ง ห่างจากแหล่งชุมชน และแนวสายไฟ

•  ไม่ปล่อยโคมลอยบริเวณสนามบิน ไม่ดัดแปลงโคมลอยให้ลอยในระดับการบิน เพราะอาจเกิดอันตรายต่ออากาศยาน

•  ใช้โคมลอยที่ได้มาตรฐาน โดยทำจากวัสดุที่เผาไหม้ได้หมดในอากาศ จะช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้

 บทความตามข้อแนะนำจาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)

 

เข้าชม 4514 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 09 พฤศจิกายน 2566 11:19