This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 01 กรกฎาคม 2564 11:40

การวางแผนการยก Lifting Plan ในงานก่อสร้าง

         รถปั้นจั่น หรือรถเครน ที่รู้จักกันดีจัดว่าเป็นเครื่องจักรอีกชนิดที่มีส่วนสำคัญในการใช้งานทุ่นแรงยกวัสดุต่างๆ ที่มีน้ำหนักมากๆได้เป็นอย่างดี และเป็นเครื่องจักรที่ส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศในอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงประกอบติดตั้งเครื่องจักร วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกัน

        ที่ผ่านมา จะได้ยินข่าวอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เช่น รถปั้นจั่นล้ม ลวดสลิงของปั้นจั่นขาด วัสดุที่ยกตกหล่นใส่ผู้คนและทรัพย์สิน เป็นต้น ซึ่งมีผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก และสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุคือ “คน” หรือผู้ที่ปฏิบัติงานที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานรวมทั้งยังไม่ตระหนักเพียงพอถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รถปั้นจั่นที่ไม่ถูกต้อง จึงขอนำเสนอ “การวางแผนการยก (Lifting Plan)” เบื้องต้น เพื่อช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานปั้นจั่นได้ทราบการคำนวณการยกก่อนเริ่มปฏิบัติงานต่อไป

1.อันดับแรกสำคัญที่สุดต้องหาระยะยก B (ระยะทำงาน) บางทีอาจเรียกว่า Working radius ให้ได้ก่อน

   ** ระยะทำงาน B จะต้องวัดจากจุดศูนย์กลางของเอวสวิงเครนไปจนถึงจุดที่วางชิ้นงาน หรือยกชิ้นงานเสมอ

 

2. หาระยะความสูง H (Lifting Hight) โดยวัดจากพื้นถึงปลายบูม

  • ความสูง H = ความสูงจุดที่วาง + ความสูงชิ้นงานและอุปกรณ์ช่วยยก + ระยะเผื่อ 1 และ 2

  • ความสูง H = 12 m + 4 m + 4 m = 20 m

 

3. หาความยาวบูม เมื่อเรารู้ Working radius และ Lifting Hight

  • ทำเครื่องหมายที่ Working radius 15 m

  • ทำเครื่องหมายที่ Lifting Hight 20 m

  • ลากเส้นจากจุด 1 และ 2 ไปพบกัน ซึ่งจะเห็นว่าจุดที่ได้อยู่ใต้สวิงของบูม ยาว 28.6 m

  • อ่านค่าความยาวบูม 28.6 m

  • อ่านค่าองศาบูม โดยอ่านค่าใกล้ที่สูงกว่าตามเส้นประสีเหลืองได้ 50 องศา

4. พอเรารู้ค่าความยาวบูม A ที่จะต้องยืดออก เราจะสามารถไปอ่านค่าตารางยก (Loading Chart) ได้

 

5. ตารางการยกจะใช้ 2 ค่า ในการอ่าน คือ

  • ความยาวบูม A = 28.6 m

  • Working radius B = 15 m

   อ่านพิกัดยกที่ระยะดังกล่าวได้ 4.9 ตัน และขายันพื้นต้องกางออกสุดทั้ง 4 ขา

  

6. น้ำหนักของการยกทั้งหมด

น้ำหนักการยกทั้งหมด = น้ำหนักชิ้นงาน (3 ตัน) + น้ำหนักสลิง และตะขอเครน (290 kg) + น้ำหนักของอุปกรณ์ช่วยยก (30 kg) = 3.32 ตัน

 

7. สรุปพิกัดยกคิดเป็น %

 

 

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม คือ

  • สภาพของพื้นที่ตั้งเครน

  • แผ่นรองขายันพื้นกระจายน้ำหนัก

  • ความสามารถในการรับแรงของอุปกรณ์ช่วยยก

  • ความไม่สมบูรณ์ของเครน หรือ เครนบางรุ่นที่ต้องใช้น้ำหนักถ่วง เพราะฉะนั้นพิกัดของการยกไม่ควรจะเกิน 75 85 % ซึ่งเป็นการเผื่อความปลอดภัยในส่วนนี้

 

ที่มา /เอกสารอ้างอิง

  1. อาจาร์ยธราธิป อัมพะลพ คณะอนุกรรมการยกหิ้ว และปั่นจั่นไทย
  2. https://www.usbr.gov/lc/region/g2000/envdocs/MohaveCountyWindFarm/Plan_of_Development/508%20Attachments%20to%20HSSE%20Plan/Attach_DD_Lifting.pdf
  3. Cranes and Derricks in Construction

 

เข้าชม 88774 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 01 กรกฎาคม 2564 12:03

บทความที่ได้รับความนิยม