This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 16 กรกฎาคม 2563 15:35

การป้องกันอันตรายในการทำงานตกจากที่สูง

การทำงานบนที่สูง  คืออะไร ?

        การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น-ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูงที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคง หรือลื่น เป็นต้น

อันตรายจากการตกจากที่สูง

แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  1. ลื่น

  2. สะดุด

  3. ตกจากบันได

  4. ตกจากที่สูง

  5. การตกกระทบจากวัสดุ

 

เราจะป้องกันการตกจากที่สูงและวัสดุร่วงหล่นได้อย่างไร ?

1. การป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน

- ฝึกอบรมให้กับผู้ที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานบนที่สูง

- สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

 

2. การป้องกันในสถานที่ทำงาน

- จัดระบบงาน เพื่อจำกัดการทำงานบนที่สูง

- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการตก เพื่อลดความเสี่ยง

- พื้นที่ทำงานปราศจากปัจจัยที่ทำให้สะดุด ลื่น

- กั้น หรือปิดช่องเปิดบนพื้นให้แข็งแรง พร้อมป้ายเตือนอันตราย

- ติดตั้งหลังคาบริเวณทางเข้า-ออกอาคาร เพื่อป้องกันการร่วงตกของวัสดุ

 

3. การป้องกันอันตรายจากการร่วงหล่นของวัสดุในพื้นที่ปฏิบัติงาน

- อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ควรใส่ในภาชนะที่แข็งแรง

-วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดต้องไม่วางกีดขวางทางเดิน

- จัดเก็บเศษวัสดุที่เหลือใช้ในภาชนะที่แข็งแรง

- จัดเก็บทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

- ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงาน

- ใช้เชือกผูกรัดเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน

- ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์อย่างถูกวิธี

 

4. การป้องกันอันตรายจากการสะดุด ลื่นล้ม บนพื้นที่ทำงาน

- วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดจะต้องไม่วางกีดขวางทางเดิน

- สายไฟ สายยาง ห้ามลากผ่านพื้นทางเดิน

- บริเวณช่องทางขึ้น-ลงบันได ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง

- พื้นที่ทำงานต้องมีราวกันตก และแผ่นกันของตก

- พื้นที่ทำงานต้องไม่เปียกแฉะ

- พื้นที่ทำงานจะต้องไม่มีคราบน้ำมัน จารบี

- พื้นทางเดินต้องเรียบเสมอกัน

- จัดเก็บทำความสะอาดอย่างต่อเนื่อง

 

5. การป้องกันอันตรายจากการตกในการเดิน เคลื่อนย้าย หรือเปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงาน

- มีราวกันตก หรือเชือกนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างโดยรอบ

- มีทางเดินชั่วคราวพร้อมราวกันตก

- ติดตั้งตาข่ายนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง

- ปิดกั้นบริเวณด้านล่างพื้นที่ปฏิบัติงาน

- จัดเตรียมนั่งร้าน หรือเครื่องจักรกลที่กำหนดไว้ในแผนงาน

- สวมใส่ และใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกตลอดเวลา

- ห้ามเคลื่อนย้ายร่างกายบนที่สูง โดยปราศจากการเกาะเกี่ยวเข็มขัดนิรภัย

 

6. การป้องกันอันตรายจากการตกในงานติดตั้งหลังคาที่มีความลาดเอียง

- ทำราวกันตก หรือเชือกนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างโดยรอบ

- ติดตั้งตาข่ายนิรภัยยึดติดกับโครงสร้างที่มั่นคง

- ล้อมด้านล่างพื้นที่ปฏิบัติงาน

- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก

- มีการจัดวางวัสดุ และจัดทางผ่านที่ปลอดภัย

- จัดเก็บเศษวัสดุ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน

- มีการตรวจสอบดูแลตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน

- มีอุปกรณ์สื่อสาร และแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ

 

7. การป้องกันอันตรายจากการตกในพื้นที่ที่เป็นสันขอบอาคาร และพื้นที่เปิดโล่ง

- จัดทำราว หรือรั้วปิดกั้นที่มั่นคง แข็งแรงโดยรอบ

- ใช้สีแสดงให้เห็นเด่นชัดในระยะไกล

- ติดตั้งตาข่ายนิรภัย

- จัดให้มีป้าย และสัญลักษณ์เตือนภัย

- สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการตก

- มีแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

8. การป้องกันอันตรายจากการตกในพื้นที่งานขุด

- จัดทำราว หรือรั้วปิดกั้นที่มั่นคง แข็งแรงโดยรอบ

- จัดให้มีการป้องกันการตก และการพังทลายของดิน

- จัดให้มีป้าย และสัญลักษณ์เตือนภัย

- ติดตั้งสัญญาณไฟเวลากลางคืน

- มีแผนการช่วยเหลือ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

 

 

การใช้งากระเช้าอย่างปลอดภัย

  • ผู้ให้สัญญาณเครนต้องติดต่อกับผู้ควบคุมเครนได้ตลอดเวลา

  • ห้ามยื่นส่วนใดของร่างกายออกนอกกระเช้า ขณะกระเช้าเคลื่อนที่

  • เมื่อกระเช้าเคลื่อนที่ถึงจุดทำงานให้ยึดกระเช้าให้อยู่กับที่

  • หยุดการทำงาน เมื่อสภาพดิน ฟ้า อากาศแปรปรวน

  • ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ให้สัญญาณ ผู้ควบคุม และผู้รับผิดชอบต้องประชุม เพื่อทำความเข้าใจ

  • ห้ามเหยียบขอบ หรือโครงสร้างกระเช้า เพื่อยืนทำงาน

  • ต้องมีเชือกผูก เพื่อควบคุมการแกว่งตัวของกระเช้า

  • ผู้ปฏิบัติงานต้องคล้องเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา

  • ห้ามเครนเคลื่อนที่ ขณะมีผู้ปฏิบัติงานอยู่บนกระเช้า

  • ระบบควบคุมความเร็วในการยกกระเช้าขึ้น-ลงไม่เกิน 100 ฟุตต่อนาที

 

การใช้งานเครนอย่างปลอดภัย

  • ตรวจสอบทุกครั้งก่อนใช้งาน

  • ต้องสวมใส่เข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา

  • ต้องทำการปิดกั้นบริเวณพื้นที่ทำงาน

  • ห้ามใช้งานเกินขีดความสามารถของเครื่องจักร

  • ห้ามบังคับกระเช้าผ่านพื้นที่ที่มีผู้ปฏิบัติงานอยู่

  • เก็บบูม (Boom)ทุกครั้ง เมื่อทำการเคลื่อนย้าย

 

ก่อนขึ้นทำงานต้องเตรียมพร้อมอย่างไร ?

  • หมวกนิรภัย

  • สายรัดคาง

  • แว่นตานิรภัย

  • สายรัดเต็มตัว

  • แต่งกายรัดกุม

  • ถุงมือ

  • ถุงใส่อุปกรณ์

  • เชือกผูกรัดเครื่องมือ

  • รองเท้านิรภัย

 

อุปกรณ์ป้องกันการตก ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ?

  • การแตกร้าว

  • ความเสียหายจากการไหม้

  • การบิดเบี้ยว ผิดรูป

  • การเปื่อย ฉีกขาด

  • การสวมใส่รุ่มร่าม

  • การถูกตัด เฉือน

 

ห้ามผูกยึดระบบป้องกันการตกส่วนบุคคลกับสิ่งเหล่านี้

  • เสาค้ำยันแนวทแยงมุม

  • เสาค้ำยันแนวดิ่ง

  • ท่อสาธารณูปโภค เช่น ลม น้ำ แก๊ส

  • ระบบป้องกันอัคคีภัย

  •  รางไฟ สายไฟ ตลับไฟ ท่อสายไฟ

  • วาล์วทุกชนิด

  • โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง

 

มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงเริ่มจาก...

  1. การขจัดอันตราย

  2. การทดแทน

  3. การควบคุมทางวิศวกรรม

  4. การควบคุมเชิงบริหารจัดการ

  5. PPE

 

การป้องกันและยับยั้งการตกจากที่สูง

การทำงานในพื้นที่ที่มีความต่างระดับน้อยกว่า 2 เมตร

  • เลือกใช้บันไดที่มีพื้นยืนพร้อมราวจับ ปลอดภัยกว่าการใช้บันไดพับปกติ โดยเฉพาะเมื่อต้องปฏิบัติงานเป็นเวลานาน หรือการมองเห็นที่จำกัด

  • ใช้นั่งร้านโครงค้ำแยกส่วน สามารถติดตั้งได้หลายวิธี เพื่อให้เหมาะกับลักษณะงาน เหมาะกับงานระดับเบา และปานกลาง

 

การทำงานในพื้นที่ที่มีความต่างระดับตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป

  1. ทำงานบนพื้นแทนการทำงานบนที่สูง เป็นการขจัดอันตรายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ผู้ควบคุมงานควรพิจารณาวิธีการทำงานที่สามารถทำได้ที่ระดับพื้นได้

  2. จัดให้มีมาตรการป้องกันการตก เมื่อปฏิบัติงานที่บริเวณขอบของอาคาร หลังคา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ และช่องเปิดในพื้นที่ปฏิบัติงาน

  3. ทางขึ้น-ลงของการทำงานบนที่สูง สถานที่ทำงานบนที่สูงทุกแห่งต้องมีทางขึ้น-ลงที่ปลอดภัย และเหมาะสม

  4. แพลตฟอร์มยกระดับ สำหรับยกคน วัสดุ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ออกแบบมา เพื่อให้ปฏิบัติงานบนที่สูงอย่างปลอดภัย และครอบคลุมงานที่มีความเสี่ยงของเครื่องจักร และอุปกรณ์ รวมถึงนั่งร้าน และรถกระเช้า

  5. ระบบการคุมตำแหน่งการทำงาน เป็นการกำหนดให้มีและใช้อุปกรณ์ที่ช่วยยึดรั้งลูกจ้างให้อยู่ในตำแหน่งงาน และปฏิบัติงานในตำแหน่งที่กำหนดได้อย่างปลอดภัย

  6. ระบบการลดการบาดเจ็บจากการตกจากที่สูง เป็นการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตก และลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ เช่น สายรัดตัวนิรภัยชนิดเต็มตัว

  7. ระบบการยับยั้งการตก ใช้เพื่อลดแรงกระชากจากการตก และไม่ให้ตกกระแทกพื้น การหยุดอย่างปลอดภัยจากการตกจากที่สูง  ทั้งนี้จะต้องมีอุปกรณ์ดูดซับแรงด้วย

  8. การควบคุมเชิงบริหารจัดการ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ช่วยลดความเสี่ยงอันตรายจากการตกจากที่สูง โดยกำหนดมาตรการควบคุมเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนมาตรการควบคุมป้องกันการตกจากที่สูงระดับชั้นต้น ๆ

 

ประเภทของนั่งร้าน มีอะไรบ้าง?

  1. นั่งร้านสำหรับงานเบา รับน้ำหนักไม่เกิน 225 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน เหมาะสำหรับงานฉาบปูน ทาสี งานไฟฟ้า และงานเบาอื่น ๆ

  2. นั่งร้านสำหรับงานปานกลาง รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 450 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน เหมาะสำหรับงานทั่วไป

  3. นั่งร้านสำหรับงานหนัก รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 675 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน เหมาะสำหรับงานก่ออิฐ คอนกรีต รื้อถอน

 

 

การป้องกันไม่ให้บันไดลื่นไถล

  • พาดบันไดให้เอียงในอัตราส่วน 4 : 1 โดยวัดความสูงจากพื้นถึงจุดพาดบันได 4 ส่วน ต่อระยะห่างของตีนบันไดจากกำแพง 1 ส่วน และปลายบันไดต้องพ้นจุดพาดอย่างน้อย 90 เซนติเมตร หรือ 3 ขั้นบันได

  • ผูกยึดบันไดให้แน่นทั้งส่วนบน และส่วนล่าง

  • การขึ้น-ลงบันไดอย่างปลอดภัย จะต้องสัมผัสกับบันไดอย่างน้อย 3 จุด และไม่ถือ หรือยกสิ่งของขณะขึ้น-ลงบันได

 

การป้องกัน และยับยั้งวัสดุอุปกรณ์ตกหล่น

  1. จัดให้มีแผงกันของตกในแนวระนาบ หรือแนวดิ่ง ออกแบบ และคำนวณความแข็งแรง โดยวิศวกร เพื่อใช้ป้องกันวัสดุอุปกรณ์ตกหล่น

  2. เส้นทางที่กำหนดให้เป็นทางเดิน เส้นทางลำเลียง หรือเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ ต้องจัดทำหลังคา กันสาด หรือวัสดุอื่นที่แข็งแรงเพียงพอ สามารถทนแรงกระแทก หรือการทะลุผ่านได้
  3. เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน หรือกองบนที่สูง ต้องจัดกองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือมีภาชนะบรรจุที่ปลอดภัย หรือจัดทำแผงกันของตกที่มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย

 


 

ที่มาของเนื้อหา :

  • การอบรมออนไลน์ "การป้องกันอันตรายในการทำงานตกจากที่สูง

    วันที่ 30 มิถุนายน 2563 

    วิทยากร
     นายสุรกิจ ช่วงโชติ   รองผู้อำนวยการโรงเรียนบริหารจัดการภัย อาฟเฟอร์

 

 

สื่อความรู้การทำงานบนที่สูง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เข้าชม 121410 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 16 กรกฎาคม 2563 16:24

บทความที่ได้รับความนิยม