This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 11 กันยายน 2562 11:19

การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล

        การเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลก๊าซหรือสารเคมี ซึ่งความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซหรือสารเคมี ที่รั่วไหล ถ้าสิ่งที่รั่วไหลเป็นก๊าซไวไฟก็จะทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ การระเบิด แต่ถ้าเป็นก๊าซพิษก็จะทำให้เกิดพิษ อันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม

        โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ต้องใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบในขบวนการผลิตมีมากกว่า 3,000 แห่ง เมื่อดูแหล่งที่ตั้งของโรงงานส่วนใหญ่ พบว่า มีบ้านเรือน แหล่งที่อยู่อาศัยโดยรอบ ลักษณะเช่นนี้ หากเกิดอุบัติภัยขึ้น เช่น ในโรงงานมีการรั่วไหลของสารเคมีมาทำปฏิกิริยากันเกิดระเบิดและไฟไหม้ หรือมีสารระเหยที่เป็นพิษกระจายอยู่รอบโรงงานทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงได้

        ดังนั้น การเก็บรักษา การผลิต การใช้และการขนส่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556

        ฉะนั้น ทำไมจึงต้องมีแผนฉุกเฉิน เพราะเป็นแผนแม่บท (Source of action) สำหรับพนักงาน เพราะในแผนจะกำหนดเป็นคู่มือแสดงวิธีการปฏิบัติตัวขิงพนักงานในยามฉุกเฉิน ว่าพนักงานจะต้องปฏิบัติอะไร และปฏิบัติอย่างไรบ้าง เช่น แผนการฝึกซ้อมพนักงานใหม่ให้ทราบถึงวิธีการหนีไฟอย่างปลอดภัยหรือแผนการฝึกพนักงานซึ่งมีการตื่นกลัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินให้สามารถอพยพหนีได้อย่างปลอดภัย

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556

หมวด 9

การควบคุมและปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉิน

 

ข้อ 33 ให้นายจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินของสถานประกอบกิจการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีอธิบดีประกาศกำหนดและเก็บแผนดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัย ตรวจสอบได้ ตลอดจนปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและฝึกซ้อมตามแผน อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

 

สารเคมีอันตราย....คืออะไร 

       สารเคมีอันตราย วัตถุอันตรายหรือ สารอันตราย หมายถึง ธาตุหรือสารประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

 

ประเภทสารเคมีอันตรายตามหลักสากล

        ประเภทที่ 1  วัตถุระเบิด : สารที่ก่อให้เกิดการระเบิด ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีได้ด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดก๊าซที่มีความดันและเกิดความร้อนอย่างรวดเร็ว เช่น พลุอากาศ ลูกระเบิด

        ประเภทที่ 2  ก๊าซ : สารที่เกิดการรั่วไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟหรือเป็นพิษ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

        ประเภทที่ 3  ของเหลวไวไฟ : ของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5 องศาเซลเซียส เช่น อะซิโตน

        ประเภทที่ 4  ของแข็งไวไฟ : ของแข็งที่สามารถติดไฟได้ง่ายจากการได้รับความร้อนจากประกายไฟ หรือจากการเสีดสี เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส

        ประเภทที่ 5  สารออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์: สารออกซิไดส์เป็นสารที่ไม่ติดไฟแต่ให้ออกซิเจน ช่วยให้วัตถุอื่นเกิดการลุกไหม้ เช่น โซเดียมเปอร์ออกไซด์ และสารออร์แกนิกเปอร์ออกไซด์ : เป็นสารที่ช่วยในการเผาสารที่ลุกไหม้ หรือ ทำปฏิกิริยากับสารอื่น เช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์

        ประเภทที่ 6  สารพิษและสารติดเชื้อ : สารพิษ เป็นสารที่สามารถทำให้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บรุนแรงต่อสุขภาพของคน เช่น โซเดียมไซยาไนด์ และสารติดเชื้อ : เป็นสารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคในสัตว์และคน เช่น แบคทีเรีย

        ประเภทที่ 7  วัตถุกัมมันตรังสี : วัตถุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่อง เช่น โคบอลต์-60

        ประเภทที่ 8  สารกัดกร่อน : สารที่มีปฏิกิริยาเคมี มีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรง เช่น โซเดียวไฮดรอกไซด์

        ประเภทที่ 9  วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย :สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตราย ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทที่ 1-8 เช่น ปุ๋ย

 

สารอันตรายทราบได้อย่างไร ?

เราสามารถสังเกตฉลาก หรือเครื่องหมายซึ่งเป็นเครื่องหมายสากลที่ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์ หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก

 

เอกสาร SDS คืออะไร? ทำไมโรงงานต้องมี

 

         Safety Data Sheet (SDS) หรือในบางครั้งเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) นั้น หมายถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย

1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีและบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย (Identification of the substance/preparation and of the Company/undertake)

2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย(Hazards Identification)

3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม(Composition/Information on Ingredients)

4.มาตรการปฐมพยาบาล(First Aid Measures)

5. มาตรการผจญเพลิง(Fire Fighting Measures)

6.มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ(Accidental Release Measures)

7. ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา(Handling and Storage)

8.การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล(Exposure Controls/Personal Protection)

9.คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ(Physical and Chemical Properties)

10.ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา(Stability and Reactivity)

11.ข้อมูลด้านพิษวิทยา(Toxicological Information)

12.ข้อมูลเชิงนิเวศน์(Ecological Information)

13.มาตรการการกำจัด(Disposal Considerations)

14.ข้อมูลสำหรับการขนส่ง(Transport Information)

15.ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ(Regulatory Information)

16.ข้อมูลอื่น(Other Information)

 

อันตรายจากสารเคมี

1. จากการสัมผัสโดยตรงเมื่อสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ในช่องทางต่าง ๆ จะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังในระยะยาวได้

2. จากการสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหาร

3. การปนเปื้อนจากแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค

4. การเจือปนอยู่ในอากาศ

5. การระเบิดหรือไฟไหม้

 

ผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมี

          ร่างกาย

          สิ่งแวดล้อม

          ทรัพย์สินและสังคม

 

การเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง ?

 

วิธีที่ดีที่สุด คือการจัดกลุ่มสารเคมีตามความว่องไวต่อปฏิกิริยา และกำหนดให้สารที่เข้ากันไม่ได้ วางแยกเก็บให้ห่างจากกันอย่างเด็ดขาด สารเคมีหลายพันชนิดที่ใช้กันอยู่อาจแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มคือ

1. สารไวไฟ (flammable chemicals)

  • อยู่ห่างจากแหล่งจุดติด
  • มีป้ายห้ามสูบบุหรี่
  • เก็บแยกจากสารพวก oxidizers สารที่ลุกติดไฟได้เอง

2. สารระเบิดได้ (explosive chemicals)

  • เก็บห่างจากอาคารอื่น
  • มีการล๊อคอย่างหนาแน่นหนา
  • ไม่ควรเก็บในที่มีเชื้อเพลิง หรือสารที่ติดไฟได้ง่าย
  • ต้องห่างเปลวไฟอย่างน้อย 20 ฟุต

3. สารเป็นพิษ (toxic chemicals)

  • ปิดฝาสนิท อากาศเข้าไม่ได้
  • ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
  • สารที่ไวต่อแสง ต้องเก็บไว้ในขวดสีชา ในสถานที่เย็น แห้งและมืด

4 สารกัดกร่อน (corrosive chemicals)

  • เก็บในที่เย็น แต่ต้องสูงกว่าจุดเยือกแข็ง
  • ต้องใช้ถุงมือ สวมแว่นตา ฯลฯ เมื่อใช้สารพวกนี้
  • ต้องเก็บกรดแยกห่างจากโลหะที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา เช่น โซเดียม แมกนีเซียม

5. สารกัมมันตรังสี (radioactive chemicals)

6. สารที่เข้าไม่ได้ (incompatible chemicals)

  • สารที่เมื่ออยู่ใกล้กันจะทำปฏิกิริยากันอย่างรุนแรง ต้องเก็บให้ห่างจากกันที่สุด
  • เตรียมเครื่องดับเพลิง Class D ไว้ในกรณีเกิดไฟไหม้ oxidizers

 

การขนส่งสารเคมีอันตราย

1.การขนส่งวัตถุอันตรายตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ให้ดำเนินตามที่กฎหมายกำหนด

2.การขนถ่ายวัตถุอันตราย (Loading and Unloading)

-หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประกายไฟ

-ผูกยึดภาชนะบรรจุเพื่อป้องกันการกระทบของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ ฯลฯ

-ต้องดึงเบรกมือเพื่อป้องกันการไหลเคลื่อนของรถ

-ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญควบคุมตลอดเวลา

-การขนถ่ายวัตถุอันตรายชนิดไวไฟที่เป็นก๊าซหรือของเหลวต้องต่อสายดิน เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตซึ่งอาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิดได้

 

PPE level of protectionระดับอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน

       ตามประกาศของสำนักงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSHA)  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมHAZWOPERต้องปฏิบัติตามอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) สี่ระดับ เหล่านี้สี่ระดับที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องแรงงานการจัดการกับวัสดุที่เป็นอันตรายในสถานการณ์ต่าง ๆ และได้รับความคุ้มครองในหลักสูตรการฝึกอบรม HAZWOPER เป็นสิ่งสำคัญที่นายจ้างต้องทำความคุ้นเคยกับระดับ PPE เหล่านี้เนื่องจากปกป้องลูกจ้างของตนจากอันตรายที่พวกเขาพบบนพื้นที่งาน โดยปกติผู้บัญชาการพื้นที่จะกำหนดระดับชุดป้องกันส่วนบุคคลตามเงื่อนไข ณ ที่เกิดเหตุ สำหรับโรงพยาบาลและเครื่องรับ / เครื่องรับแรกอื่น ๆ การเลือกใช้ PPE ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางเคมีที่กำหนดไว้โดยนายจ้าง

       ไอระเหยก๊าซและอนุภาคจากกิจกรรมการตอบสนองต่อสารอันตรายจะทำให้บุคลากรที่ตอบสนองความเสี่ยงเกิดความเสี่ยง ด้วยเหตุนี้พนักงานตอบสนองต้องสวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมเมื่อใดก็ตามที่อยู่ใกล้สถานที่ ยิ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่ไซต์ปลดปล่อยมากเท่าใดคุณก็จะเลือกอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้ง่ายขึ้น อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลมีอยู่สี่ระดับ

       

การป้องกันระดับ จำเป็นต้องใช้เมื่อมีโอกาสเกิดความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดและเมื่อจำเป็นต้องมีระดับที่สูงที่สุดในการป้องกันทางเดินหายใจและการป้องกันดวงตา ตัวอย่างของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ในระดับ A รวมถึง:

(SCBA) หรือเครื่องช่วยหายใจที่มีอากาศถ่ายเทช่วยหายใจด้วย SCBA;

-ชุดป้องกันสารเคมีและไอป้องกันตัว;

-ถุงมือป้องกันสารเคมีทั้งภายในและภายนอกและ

-ชุดป้องกันถุงมือและรองเท้าบู๊ท

     

 การป้องกันระดับ จำเป็นต้องใช้ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องการระดับการป้องกันทางเดินหายใจสูงสุดและมีระดับการป้องกันผิวที่น้อยกว่า บริเวณที่เป็นของเสียอันตรายจากภายนอกที่ทิ้งรั่วซึมไอระเหยในบรรยากาศหรือระดับก๊าซไม่ได้เข้าใกล้ความเข้มข้นสูงมากพอที่จะรับประกันการป้องกันระดับ A ตัวอย่างของการป้องกันระดับ B ได้แก่ :

-(SCBA) หรือเครื่องช่วยหายใจที่มีอากาศถ่ายเทช่วยหายใจด้วย SCBA; 

-ถุงมือป้องกันสารเคมีทั้งภายในและภายนอก

-โล่ใบหน้า;

-เสื้อผ้าที่ทนต่อสารเคมีได้

-coveralls; และ

-รองเท้าป้องกันสารเคมีด้านนอก

ต้องมีการป้องกันระดับซีพียูเมื่อต้องทราบถึงความเข้มข้นและชนิดของสารในอากาศและเกณฑ์การใช้เครื่องช่วยหายใจ 

         

อุปกรณ์ระดับ C ทั่วไป ได้แก่ :

-หน้ากากกรองอากาศแบบเต็มหน้า

-ถุงมือป้องกันสารเคมีทั้งภายในและภายนอก

-หมวกแข็ง;

-หน้ากากหนี; และ

-บู๊ทส์ด้านนอกที่ทนสารเคมีทิ้ง

การป้องกันระดับ D เป็นการป้องกันขั้นต่ำที่จำเป็น การป้องกันระดับ D อาจเพียงพอเมื่อไม่มีสารปนเปื้อนอยู่หรือการปฏิบัติงานไม่ให้เกิดการกระเด็นหรือการสูดดมที่ไม่คาดคิดหรือสัมผัสกับสารเคมีอันตราย อุปกรณ์  

 

ป้องกันระดับ D ที่เหมาะสมอาจรวมถึง:

-ถุงมือ;

-coveralls;

-แว่นตานิรภัย

-โล่ใบหน้า; และ

-รองเท้าส้นเตารีดหรือรองเท้าป้องกันสารเคมี

 

บทสรุป

การจัดทำแผนฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหลนั้น จัดทำขึ้นเพื่อ

  1. เพื่อเกิดความคุ้นเคยในอาคารสถานที่ อุปกรณ์รับเหตุฉุกเฉิน วิธีแจ้งเหตุ
  2. เพื่อเข้าใจระบบการสื่อสารขณะเกิดเหตุ
  3. คุ้นเคยกับบทบาทหน้าที่ของตนเอง การใช้เครื่องมือ และการปฏิบัติตามขั้นตอน
  4. มีประสบการณ์เกิดความเชื่อมั่น มีทักษะสามารถระงับเหตุได้เร็ว
  5. บุคลากรนอก-ในประสารงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  6. มีการพิสูจน์ความถูกต้องในรายละเอียดของแผน เช่น เบอร์โทรศัพท์ อุปกรณ์รับเหตุฉุกเฉิน

 

อีกทังยังเป็นข้อบังคับของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้าน

ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556ซึ่งหากเราไม่มีการจัดทำแผนฉุกเฉิน หรือมีแผนที่ไม่ดี ก็จะทำให้ไม่สามารถควบคุมเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้ และส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งด้านร่างกาย ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมและเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย

 

PPE level of protection

Level จำเป็นต้องใช้เมื่อมีโอกาสเกิดความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดและเมื่อจำเป็นต้องมีระดับที่สูงที่สุดในการป้องกันทางเดินหายใจและการป้องกันดวงตา ตัวอย่างของเสื้อผ้าและอุปกรณ์ในระดับ A รวมถึง:(SCBA) หรือเครื่องช่วยหายใจที่มีอากาศถ่ายเทช่วยหายใจด้วย SCBA;

วิทยุสื่อสาร

SCBA

ชุดป้องกันสารเคมีและไอป้องกันตัว;

ถุงมือป้องกันสารเคมีทั้งภายในและภายนอกและ

ชุดป้องกันถุงมือและรองเท้าบู๊ท

Level จำเป็นต้องใช้ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องการระดับการป้องกันทางเดินหายใจสูงสุดและมีระดับการป้องกันผิวที่น้อยกว่า บริเวณที่เป็นของเสียอันตรายจากภายนอกที่ทิ้งรั่วซึมไอระเหยในบรรยากาศหรือระดับก๊าซไม่ได้เข้าใกล้ความเข้มข้นสูงมากพอที่จะรับประกันการป้องกันระดับ A ตัวอย่างของการป้องกันระดับ B ได้แก่ :

วิทยุสื่อสาร

SCBA

ชุดหมี

ถุงมือ

รองเท้าบู๊ท

Level ได้แก่ :

วิทยุสื่อสาร

หน้ากากกรองสารเคมี

ชุดหมี

ถุงมือ

รองเท้าบู๊ท

Level D ที่เหมาะสมอาจรวมถึง:

แว่นตานิรภัย

ชุดหมี

รองเท้าบู๊ท/รองเท้านิรภัย

 

แผนฉุกเฉินแผนปฏิบัติการฉุกเฉินสารเคมีรั่วไหล

 

บทความโดย

รศ.ดร.พรพรรณ สกุลคู, สมจิต บุญพา

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

เข้าชม 103282 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพุธ, 11 กันยายน 2562 11:38