This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันจันทร์, 28 กุมภาพันธ์ 2565 09:10

นวัตกรรมกับความปลอดภัยในการช่วยเหลือ

นวัตกรรม กับ ความปลอดภัยในการช่วยเหลือ  Fall Protection Rescue Technology

        การช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากพื้นที่อับอากาศ (Confined Space) หรือบนที่สูง (Working At Height) นั้น ที่ผ่านมาในอดีต ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องของบุคคลากรที่จะเข้าไปทำการช่วยเหลือ ความพร้อมของอุปกรณ์ช่วยเหลือ และ ความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Rescue Plan) และมีความพร้อมในการดำเนินตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินดังกล่าวขึ้น

          แผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นแผนเผชิญเหตุ กรณีเกิดอุบัติเหตุต่อผู้ปฎิบัติงานในพื้นที่อับอากาศหรือพลัดตกจากที่สูง เพื่อให้การช่วยเหลือดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ลดอัตราการสูญเสียชิวิต โดยแผนการช่วยเหลือควรประกอบด้วย

1.ชื่อโครงการหรืองาน  และระยะเวลาในการทำงานนั้น

2.ลักษณะอันตรายหรือความเสี่ยงผู้ปฎิบัติงานอาจได้รับ

3. สภาพแวดล้อมในการปฎิบัติงาน

4. ผู้รับผิดชอบการช่วยเหลือ (Rescue Commander/Leader)

5. รายชื่อผู้ช่วยเหลือ และวิธีการติดต่อประสานงานภายในองค์กร

6. ขึ้นตอนการช่วยเหลือ และการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ

7. รายการอุปกรณ์ที่ต้องการใช้สำหรับการช่วยเหลือ

8. หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกที่ต้องขอการสนับสนุนในการช่วยเหลือพร้อมวิธีการติดต่อ

 

วิธีการช่วยเหลือผู้ประสบภัย

1. Self Rescue  คือ การให้ผู้ประสบภัย ช่วยเหลือตนเอง ให้พ้นภัย หรือวิกฤติ นั้น ด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่นการปีนกลับเข้าโครงสร้าง เป็นต้น

2. Mechanically Aided Rescue  คือ การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องมือกล เพื่อรองรับการช่วยเหลือ เช่น การใช้ Boom Lifting, Scissor Lifting เป็นต้น

3. Suspension Trauma  คือ การใช้อุปกรณ์ เพื่อลดอาการ บาดเจ็บ หรือหลีกเลี่ยงการหมดสติ ระหว่างรอคอยการช่วยเหลือ

4. Prompt Rescue  คือ เวลาที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ภายใน 6 นาที อ้างอิงตามมาตรฐาน ANSI Z359-2 6.1

 

 

Self Rescue  คือ การให้ผู้ประสบภัย ช่วยเหลือตนเอง ให้พ้นภัย หรือวิกฤติ นั้น ด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่นการปีนกลับเข้าโครงสร้าง หรือ อุปกรณ์ที่นำติดตัวไว้ เป็นต้น

• Self deployment device

• Rescue Ladder

 

Mechanically Aided Rescue คือ การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องมือกล เพื่อรองรับการช่วยเหลือ เช่น การใช้ Boom Lifting, Scissor Lifting, Davit Arm System หรือ อุปกรณ์ชักรอก เป็นต้น

 

 

Suspension Trauma คือ การใช้อุปกรณ์ เพื่อลดอาการบาดเจ็บ หรือหลีกเลี่ยงการหมดสติเนื่องจากการบีบรัดของสายรัดลำตัวนิรภัย (Harness) ที่เส้นเลือดใหญ่บริเวณขาหนีบ และทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้นระหว่างรอคอยการช่วยเหลือ

 

Prompt Rescue คือ เวลาที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือ ภายใน 4-6 นาที อ้างอิงตามมาตรฐาน ANSI Z359-2 6.1

      แผนการช่วยเหลือ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องวางแผน และเขียนขึ้นเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือได้ทราบและเข้าใจ รวมถึงการจัดเตรียมทีมงาน และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ทั้งนี้ การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ณ บริเวณพื้นที่ทำงาน ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้  และทีมช่วยเหลือ จะต้องได้รับการฝึกอบรม และฝึกทบทวนอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี ตามที่ได้ระบุไว้ในมาตรฐาน  ANSI Z359-2

 

บทความโดย

ฉานฉลาด บุนนาค  วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค/วิทยากร

แผนกผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยส่วนบุคคล  บริษัท 3เอ็ม ประเทศไทย จำกัด

 

เข้าชม 5804 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันจันทร์, 28 กุมภาพันธ์ 2565 09:30

บทความที่ได้รับความนิยม