This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันจันทร์, 05 กันยายน 2565 10:24

10 รายการ ที่ทุกคนช่วยกันตรวจสอบอย่างง่ายได้ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า

ช่วยกันตรวจเช็ค ตรวจตรา

ทุกสายตา ช่วยกันสังเกต ช่วยกันตรวจหาร่องรอยต่างๆ นานาที่บ่งบอกว่าอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ถึงเวลาและได้เวลาแล้วที่ต้องจัดการ

ทำการตรวจอย่างง่าย

        เมื่อจะทำการตรวจ ต้องรู้ถึงอันตรายจากไฟฟ้า (กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายอาจถึงตายได้), รู้ว่าต้องมีการป้องกันตัวเองที่ดีเพื่อไม่ให้มีการสัมผัสส่วนใดๆ ที่ไม่มั่นใจว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือไม่ และจะดำเนินการที่เกี่ยวกับไฟฟ้าเมื่อมั่นใจว่าไม่มีไฟ และ/หรือมีการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า (ป้องกันที่แหล่งกำเนิด, ป้องกันที่ทางผ่าน, ที่ตัวบุคคล) อย่างเหมาะสมแล้ว

 

  10 รายการ  

  ตรวจสอบอย่างง่าย เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า  

 

  1. สายไฟ  

สังเกตดูการชำรุดของฉนวน การเปลี่ยนสี รอยบวม รอยแตกหากพบสิ่งผิดปกติก็ควรหาสาเหตุและแก้ไข หรือเปลี่ยนใหม่

 

 

  2.เซอร์กิตเบรกเกอร์  

สังเกตด้วยสายตาหาถึงความเสียหาย เช่น การแตก หัก หรือการเปลี่ยนสี เป็นต้น และตรวจแบบละเอียดด้วยการใช้เครื่องวัดความร้อน

 

 

  3. ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย  

   • ตรวจสอบเบื้องต้น สามารถสังเกตจากการเปลี่ยนสี

   • ตรวจสอบอย่างละเอียดได้ด้วยการใช้เครื่องวัดความร้อน

   • จุดต่อสายต่างๆ ต้องต่อแน่น

 

 

  4. การเดินสายไฟฟ้า  

ไม่มีการต่อพ่วงสายไฟไปใช้งานอย่างไม่ปลอดภัย (เดินสายไฟฟ้าเอง โดยไม่ใช้ช่าง)

 

 

  5. แผงสวิตช์สะพานไฟฟ้า  

   • อยู่ในสภาพดี ไม่เก่า ชำรุดหรือแตกหัก ไม่มีหยากไย่หรือสัตว์ เช่น มด เป็นต้น มาทำรัง

   • ไม่มีร่องรอยการเสียหายจากความร้อน

   • ไม่มีสิ่งกีดขวางทางเข้าออกแผงสวิตช์หรือสะพานไฟ

   • ไม่อยู่สูงจนปฏิบัติงานไม่สะดวก

   • มีแสงสว่างที่สามารถเห็นแผงสวิตช์ได้ชัดเจน

   • ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ฝนสาดถึงเครื่องป้องกันกระแสเกิน (ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์)

   • สะพานไฟที่คัตเอาต์ไม่หลวมหรือร้อน

 

  6. สวิตช์  เต้ารับ ปลั๊กไฟฟ้า  

มีสภาพปลอดภัย ไม่ชำรุด เมื่อเสียบปลั๊กใช้งานแล้วแน่นพอดีไม่หลวม และไม่ร้อน ไม่ใช้เต้าเสียบหลายทางในตัวเดียวกัน

 

  7. ไฟฟ้าแสงสว่าง หลอดไฟ ดวงโคม  

   • เมื่อเปิดสวิตช์แล้ว หลอดไฟทุกดวงใช้งานได้ (ให้แสงสว่าง)

   • ไม่มีรอยไหม้ที่ขั้วหลอด มีสภาพอยู่ในสภาพดี ไม่เก่า ชำรุดหรือแตกหัก

   • ไม่มีเสียงดัง (คราง) ของบัลลาสต์

   • ไม่มีวัสดุที่ติดไฟได้ติดอยู่ เช่น กระดาษ รังนก หยากไย่ เป็นต้น

 

  8. พัดลมเพดาน  

   • อยู่ห่างจากวัสดุติดไฟได้ พัดลมเพดานต้องไม่มีวัสดุที่อาจกีดขวางจนทำให้พัดลมหยุดหมุนได้

   • ตรวจดูว่าไม่มีกลิ่นไหม้

   • หากพัดลมไม่หมุนเมื่อเปิดสวิตช์ ให้ปิดสวิตช์พัดลมและแจ้งให้ช่างที่มีความรู้มาทำการตรวจเช็คเพื่อซ่อม

 

  9. อุปกรณ์ไฟฟ้า  

(กระติกน้ำร้อน เครื่องทำน้ำเย็น ตู้เย็น พัดลม เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ พิมพ์ดีดไฟฟ้า)

   • อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ไม่ชำรุด

   • สวิตช์ไฟ ปลั๊กไฟ ใช้งานได้ดี ไม่ชำรุดแตกหักหรือหลวม

   • สายไฟฟ้าอยู่ในสภาพดี ไม่หักงอ บวม หรือฉนวนฉีกขาด

   • อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ร้อนผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็นไหม้

 

  10. อาคาร สถานที่  

   • ไม่วางกองเอกสาร สิ่งที่ติดไฟง่ายใกล้แผงสวิตช์ ปลั๊กไฟฟ้า

   • ไม่มีการเก็บพวกน้ำมัน,สารไวไฟไว้ในอาคาร

 

แหล่งข้อมูล : คู่มือ การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าโรงงาน (ฉบับปรับปรุงใหม่ 2559) และ คู่มือ ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงเรียน ตชด.

หมั่นตรวจสอบและช่วยกันระมัดระวังอันตรายจากไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกันอีกคนละนิด เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

 

บทความโดย : โค้ชออนซ์_สุชาดา อวยจินดา

 

เข้าชม 8481 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันจันทร์, 05 กันยายน 2565 13:30

บทความที่ได้รับความนิยม