This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันอังคาร, 06 กันยายน 2565 13:23

ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร อุปกรณ์

   ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร เป็นหัวข้อที่เขียนยากมากๆ เพราะมันกว้างยิ่งกว่าทะเลเสียอีก เลยขออนุญาตเขียนแนวทางในการจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยของการทำงานกับเครื่องจักร อุปกรณ์ แบบกว้างๆ แล้วกันนะครับ อาจจะไม่ได้อ้างอิงแนวทางที่เป็น International Standard สักเท่าไหร่ ขอเอาความรู้ประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์มาแล้วกันนะครับ สำหรับเรื่องเครื่องจักร อุปกรณ์ที่จะทำอย่างไรให้มีความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน ปลอดภัยกับตัวโรงงานเอง ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขอให้แนวทางในการดำเนินการดังนี้

  1. Design Standard/Code  

         ทางโรงงาน/สถานประกอบการเองจะต้องกำหนดว่าอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่จะนำมาติดตั้ง นำมาใช้งานในโรงงานจะออกแบบ Design ตามมาตรฐานที่มาอ้างอิงหรือกฎหมายกำหนด เช่น API ASME IEC NFPA หรือมาตรฐานของบริษัทฯ ที่เฉพาะอย่าง SHELL DEP CVX SID หรือตามมาตรฐานของ Licensor ต่างๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้นในการออกแบบ คัดเลือก เครื่องมือ เครื่องจักร ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่อ้างอิง

  2. Construction Installation & QA/QC  

         ถึงขั้นตอนของการก่อสร้าง ติดตั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร จะต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ อาจจะเป็นทีมจากผู้ผลิตเอง เจ้าของงานหรือทีมผู้รับเหมาที่มีความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ซึ่งการติดตั้งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานอ้างอิงที่กำหนด รวมทั้งจะต้องมีการตรวจสอบ การทดสอบการติดตั้งจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ QA/QC ในการเช่นเดียวกัน ถ้ามีข้อบกพร่อง (Defect) ต่างๆ จะต้องมีการแก้ไข เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานทีใช้ในการอ้างอิง

  3. Commissioning  

         เป็นขั้นตอนในการทดสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ติดตั้งว่ามีการทำงานและประสิทธิภาพก่อนที่จะทำการเดินเครื่องจริง (Startup) ซึ่งเป็นการทดสอบในทุกๆ ฟังก์ชั่นการใช้งานจะต้องได้มาตรฐานตามที่ออกแบบเอาไว้

  4. Operation  

         การเดินเครื่องหรือการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร จะต้องมีขั้นตอนการทำงานที่ทางผู้ผลิตหรือเจ้าของเทคโนโลยีกำหนดเอาไว้ ซึ่งจะต้องมีการสื่อสาร การฝึกอบรม หรือการทำ On the Job Training ให้กับผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมหรือเดินเครื่องจักร (Operator) ให้รู้และเข้าใจ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยอาจจะต้องมีกระบวนการในการทดสอบความรู้ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญให้กับผู้ที่ทำหน้าที่เดินเครื่องจักร มีการซ้อม มีการทบทวน ตามระยะเวลาที่กำหนด

  5. Maintenance  

         การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการรักษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร นั้นๆ ซึ่งอาจจะอ้างอิงตามมาตรฐานของผู้ผลิต กฎหมาย หรือมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงต่างๆ เป็นต้น     ซึ่งการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ก้อเช่นเดียวกันที่จะต้องมีขั้นตอนการทำงานและดำเนินการโดยผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องพิจารณาค่ามาตรฐานที่ได้หรือค่าที่ยอมรับได้ (Deficiency) ในการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการซ่อม การเปลี่ยน หรือการดูประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงรักษา อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร นั้นๆ ด้วย ซึ่งผลการตรวจสอบ ผลการซ่อมบำรุง จะต้องเก็บเป็นประวัติ ในการวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงต่อไป

  6. Spare Part  

         การจัดการอะหลั่ยหรือชิ้นส่วน อุปกรณ์ มีความสำคัญมาก เช่นเดียวกัน ซึ่งทางบริษัทฯ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องวางแผนในการดำเนินการ ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของผู้ผลิตหรือ Licensor เช่นกัน หรือบางครั้ง จะต้องกำหนดมาตรฐานของ Spare Part เช่น ต้องเป็นอะหลั่ยแท้จากผู้ผลิต หรือบางอย่างสามารถใช้ทดแทนได้ แต่ต้องได้มาตรฐานและมีการพิจารณา ประเมินจากผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างถี่ถ้วน

         เป็นแนวทางในการทำงานเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรในภาพรวมนะครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญคือ การออกแบบ ติดตั้ง เดินเครื่อง ซ่อมบำรุง ต้องเป็นไปตามมาตาฐานที่ใช้อ้างอิง มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน ครอบคลุมทั้งคนที่รับชอบทั้งในงานตั้งแต่ติดตั้ง ทดสอบ เดินเครื่อง ซ่อมบำรุง จะต้องมีความรู้ ทักษะ และมีการทบทวน เป็นระยะๆ หวังว่าจะบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกๆ ท่านนะครับ....ขอบคุณครับ...

 

เขียนโดย นายอนันต์ สุขแท้, ผู้จัดการส่วนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
                กลุ่มธุรกิจสาธารณูปการและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ บริษัทพีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน),

เข้าชม 7651 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันอังคาร, 06 กันยายน 2565 13:57

บทความที่ได้รับความนิยม