This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 25 ตุลาคม 2566 09:12

การป้องกันและลดปัญหาอุบัติภัยร้ายแรงในโรงงานอุตสาหกรรม : เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

  เข้าใจ  

  • อุบัติภัยร้ายแรงในโรงงานอุตสาหกรรม (Major Hazard) ได้แก่ การเกิดไฟไหม้ สารเคมี รั่วไหล และการระเบิด ซึ่งโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายของกระบวนการผลิตและอุบัติเหตุร้ายแรง โดยเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีมาตรการป้องกันและมาตรการที่จะลดความเสียงหรือควบคุมความเสียงให้อยู่ในที่ยอมรับได้หรือตํ่า รวมไปถึงลดระดับความรุนแรงและความสูญเสียไม่ให้ลุกลามจนเกิดเป็น วินาศภัย (Catastrophic) และต้องมันใจว่ามาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบนั้นสามารถป้องกันได้จริง

  • สถานประกอบกิจการประเภทผลิตสารเคมี วัตถุอันตราย ที่ตั้งในนิคมอุตสาหกรรม ตามท้ายบัญชีบังคับฯ ของการนิคมอุตสาหกรรม ที่เข้าข่ายต้องดำเนินการตามระบบการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM )  

  • หน่วยงานราชการควรร่วมมือในการทำงาน ทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดภาระให้กับภาคเอกชนในเรื่องของการดำเนินการตามกฎกมาย เนื่องจากมีความทับซ้อนของกฎหมายทำให้ภาคเอกชนต้องดำเนินงานซ้ำซ้อน

  • หน่วยงานเอกชนต้องสื่อสารให้ชุมชนทราบถึงกระบวนการผลิต ชนิดของสารเคมี ความอันตรายของสารเคมี ปริมาณการจัดเก็บ การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โรงานมีมาตรการในการควบคุมและป้องกันอย่างไรเพื่อให้เกิดความเชื่อใจ

  เข้าถึง  

  • สถานประกอบกิจการประเภทที่เข้าข่าย ต้องดําเนินการตามข้อบังคับฯ PSM จะต้องมีการตรวจ ประเมินภายใน (Internal Audit) และตรวจประเมินภายนอก (External Audit) รวมไปถึงการสื่อสารไปยังชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการ

  • การบริหารการมีสวนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการสร้างเป็นเครือข่ายเพื่อบูรณาการทํางานร่วมกัน ในการพัฒนาด้านความปลอดภัย การสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร การแจ้งเหตุการณ์ฉุกเฉิน การสร้างความร่วมมือร่วมกัน โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงงาน 2.ชุมชน 3.หน่อยงานท้องถิ่น

  พัฒนา  

  • การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยนําผล การทบทวนทั้ง Internal Audit และ External Audit รวมถึงการถอดบทเรียนจากการสอบสวนอุบัติการณ์ ต่างๆ เพื่อจัดทํามาตรการควบคุม ป้องกัน และยกระดับมาตรฐาน ความปลอดภัยต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

  • ควรจะต้องมีการพัฒนากลไกของผู้มีส่วนได้เสีย ความร่วมมือ พันธมิตรทั้งในภาคราชการและโรงงาน

  • ควรบูรณาการความรู้ วิธีการประเมินความเสี่ยง ที่มีความหลากหลายนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

  • การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น งานโลจิสติกใช้เครื่องจักรในงานซ้ำซ้อนแทนคน การใช้ Fire pump sensor SKADA เพื่อทดแทนในกรณี Fire pump ไม่ทำงาน การใช้กล้อง CCTV หรือโดรนในพื้นที่ขนาดใหญ่ การใช้ระบบเซนเซอร์ในการตรวจจับคุณภาพอากาศ การตรวจเช็คน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ

 

วิธีการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินของอุบัติภัยร้ายแรง  

        โดยภาพรวมของการจัดการเตรียมความพร้อม และการตอบโต้ภาวะฉุกฉิน สามารถจำแนกในระดับของสถานประกอบการสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง หากมีความรุนแรงจนถึงขั้นที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจต้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอก ซึ่งต้องมีการบูรณาการในรูปการจัดตั้งทีมสำหรับภูมิภาค เพื่อร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน ที่มีความชำนาญการเข้าตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ดังตัวอย่างในบางประเทศที่มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนและถอดบทเรียนจากอุบัติภัยร้ายแรง เช่น Chemical Safety and Hazard Investigation Board (CSB), USA

การยกระดับอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ได้มีการกำหนดเกณฑ์การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) 5 มิติ โดยพิจารณาถึง

  • มิติกายภาพ โดยมีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อาคารโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • มิติเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจชุมชน ท้องถิ่น

  • มิติสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมาย เพื่อการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การบริการจัดการพลังงาน ระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์ มลภาวะทางเสียง กลิ่น ฝุ่นควัน ความเดือนร้อนรำคาญ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ การพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันทางอุตสาหกรรม

  • มิติสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีของพนักงานทั้งของนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมมีคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดี

  • มิติการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม ยกระดับการกำกับดูแลโรงงาน ส่งเสริมให้โรงงานเข้าสู่ระบบบริการจัดการระดับสากลและประเทศ การรณรงค์ส่งเสริมให้โรงงานประยุกตืใช้นวัตกรรม เครื่องมือการจัดการ ระบบบริหารจัดการใหม่ๆ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารและจัดทำรายงาน

 

บทความจากงานสัมมนาออนไลน์ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ

  ดูบันทึกวิดีโอการสัมมนา  

 

ผู้อภิปราย

• ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี  นายกสมาคมวิศกรรมความปลอดภัย

• รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล  ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

• คุณจรีพร จารุกรสกุล  ประธานคณะกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท WHA Corporation จำกัด (มหาชน)

• คุณกฤษฎา ชัยกุล  ผู้จัดการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกด้านความปลอดภัยกระบวนการผลิตโรงกลั่นน้ำมัน Chevron USA

ผู้ดำเนินการอภิปราย

• ดร.เด่นศักดิ์ ยกยอน อาจารย์ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เข้าชม 3680 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพุธ, 25 ตุลาคม 2566 10:04

บทความที่ได้รับความนิยม