ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ภาคอุตสากรรมได้นำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อความรวดเร็วและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การนำระบบการบริหารจัดการต่างๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูงมาใช้ทดแทนเครื่องจักรและอุปกรณ์แบบเดิมๆ และการนำอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ทดแทนแรงงานมนุษย์ เป็นต้น
หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่นำมาใช้ในภาคอุตสาหรกรรมมีการใช้หลายรูปแบบตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น เครื่องจักรระบบอัตโนมัติประเภทหุ่นยนต์ (Robot Safety Operation) โดยเครื่องจักรประเภทนี้ จะมีการเดินเครื่องจักรที่เป็นระบบทำงานอย่างต่อเนื่อง ลักษณะงานที่ไม่ซับซ้อนและไม่ต้องใช้การตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงาน เป็นขั้นตอนทำงานที่เป็นขั้นตอนแบบเดิมๆ ซ้ำๆ ผู้ปฏิบัติงานทำหน้าที่สั่งการหรือควบคุมการทำงานของเครื่องจักรดังกล่าวเป็นช่วงๆ และผู้ปฏิบัติงานสัมผัสกับเครื่องจักรระบบอัตโนมัติประเภทหุ่นยนต์น้อยหรือบางช่วงเวลาของการทำงาน โดยใช้คำสั่งสั้นๆ ได้แก่ หุ่นยนต์เชื่อมโลหะในอุตสาหรกรรมยานยนต์ หุ่นยนต์จับและป้อนชิ้นงานที่เล็กและต้องการความเที่ยวตรงอุคสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ และหุ่นยนต์พ่นสีชิ้นงาน เป็นต้น
เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรระบบอัตโนมัติประเภทหุ่นยนต์ ควรมีการจัดการด้านความปลอดภัย ดังนี้
• ให้ความสำคัญของระบบความปลอดภัยของเครื่องจักร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การติดตั้ง การใช้งานและการซ่อมบำรุง ตามระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change : MOC)
• จัดให้มีคู่มือและขั้นตอนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรระบบอัตโนมัติประเภทหุ่นยนต์ เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
• จัดให้มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามคู่มือและขั้นตอนดังกล่าว รวมทั้งระบบการสั่งการและควบคุมหุ่นยนต์ จนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รวมทั้งการปฎิบัติงานของหุ่นยนต์ในภาวะปกติและผิดปกติ
• กำหนดขอบเขต พื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย เช่น รัศมีการทำงานของหุ่นยนต์ ระยะห่างของผู้ปฏิบัติงานกับหุ่นยนต์ เส้นทางลำเลียงวัสดุ และทางเดินที่ปลอดภัย เป็นต้น
• มีการติดป้ายเตือน ป้ายสัญลักษณ์ความปลอดภัย รวมทั้งการทาสีตีเส้นในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนเพื่อสือสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและถือปฏิบัติตามอย่างเคร่งคลัด
• ตรวจสอบระบบการควบคุมและระบบการสั่งการหุ่นยนต์ตามกำหนดเวลา ไม่ว่าการสั่งการโดยบุคคล (Manual Mode) ระบบสั่งการแบบอัตโนมัติ (Automatic Mode) และระบบสั่งการแบบกิ่งอัตโนมัติ (Semiautomatic /Manual Intervention Mode) เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
• ตรวจสอบการปฏิบัติงานของหุ่นยนต์ เช่น ความเร็วในการทำงานของหุ่นยนต์ ทิศทางการทำงาน รัศมีการทำงาน ส่วนที่มีการเคลื่อนไหว และระบบสั่งการ ก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้แน่ใจว่าหุ่นยนต์ทำงานได้ตามปกติ และมีความปลอดภัย
• ตรวจสอบระบบการตัดพลังงานต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันอันตราย (Safe Guards and Protective devices) เช่น ราวกั้น ฉากกั้น และระบบหยุดฉุกเฉิม(Emergency stop system) เป็นระยะๆ หรือตามที่กำหนดช่วงเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าระบบอยู่ในสภาพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภับระบบหยุดฉุกเฉิน และอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
• มีการทวนสอบระบบการทำงานของหุ่นยนต์และระบบความปลอดภัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ตามแผนงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) เป็นระยะๆ หรือตามกำหนดช่วงเวลาที่ระบุในคู่มือ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบต่างๆ ทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้
• กรณีหุ่นยนต์ทำงานผิดปกติต้องหยุดทำงานทันทีและรายงานให้ผู้รับผิดชอบทราบ เพื่อทำการตรวจสอบ ซ่อมบำรุง หรือปรับแต่งการทำงานของหุ่นยนต์ ทั้งนี้ต้องมีการปิดป้ายเตือน/ระบบล็อค (lock out/ tag out)