ช่างซ่อมบำรุงคนหนึ่งในประเทศอังกฤษ ต้องเสียชีวิตอันเนื่องมาจากการเปิดฝาถังไส้กรอง ที่มีก๊าซไนโตรเจนที่ตกค้างอยู่ เพื่อทำการซ่อมอุปกรณ์ที่ชำรุดอยู่ภายใน
ก๊าซไนโตรเจนที่ตกค้าง มีสาเหตุมาจาก ในคืนก่อนเกิดเหตุ ได้มีการปล่อยก๊าซไนโตรเจนเข้าไปภายในถังเปลี่ยนไส้กรอง เพื่อลดปริมาณออกซินเจน และปิดวาล์ว แต่ประกฎว่า ยังคงมีก๊าซไนโตรเจน ตกค้างอยู่ จนเป็นเหตุให้วิศวกรคนนี้ต้องเสียชีวิต เนื่องจากหายใจเอาก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในขณะที่เปิดฝาถัง
สาเหตุเกิดจาก “ความไม่รู้”
“ความไม่รู้” เกิดจากการที่ไม่ได้มีประเมินความเสี่ยงก่อนปฏิบัติงาน หากเขาทำการประเมินความเสี่ยงก่อน เขาจะต้องทำการตรวจวัดอากาศ ทำการระบายอากาศก่อน หรือ สวมใส่อุปกรณ์ปกป้องระบบทางเดินหายใจชนิดส่งผ่านอากาศก่อนปฏิบัติงาน
ถึงตรงนี้พอจะเห็นภาพชัดเจนแล้วใช่มั้ยครับว่า การประเมินความเสี่ยง มีความสำคัญมากมายขนาดไหนต่อความปลอดภัยในการทำงาน
แต่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่กลับมองว่า การประเมินความเสี่ยง ทำไปเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย หรือ เงื่อนไขในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบ ISO หรือ เงื่อนไขในการว่าจ้างของลูกค้า
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ตามคำจำกัดความใน ISO 45001 หมายถึง กระบวนการที่เกิดขึ้นจาก การชี้บ่งความเสี่ยง (Risk Identification) วิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และ ประเมินผลของความเสี่ยง (Risk Evaluation)
การชี้บ่งความเสี่ยง (Risk Identification) คือ กระบวนการที่ใช้ในการค้นหา ชี้ชัดให้เห็นความเสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ และความสำเร็จในการทำงานนั้นๆ
การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) คือ กระบวนการที่ถูกนำมาใช้เพื่อเข้าใจธรรมชาติ และวิเคราะห์ต้นเหตุ ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง ซึ่งช่วยให้เราสามารถประเมินระดับของความเสี่ยงของผลกระทบที่ตามมาได้
การประเมินผลของความเสี่ยง (Risk Evaluation) คือ กระบวนการที่ถูกนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบ ผลการวิเคราะห์ความเสี่ยง กับ เกณฑ์ของความเสี่ยง เพื่อที่จะวัดระดับความจำเพาะของที่ยอมรับได้
หรือ สรุปให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า
การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คือ การชี้บ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำงาน โดยวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความเสี่ยง และ พิจารณาว่ามีผลกระทบของความเสี่ยงอยู่ในระดับใด ยอมรับได้หรือไม่
วิธีการที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงมีหลายวิธี ขึ้นกับกระบวนการที่เราใช้ในการทำงาน เช่น
• Checklist
• What if
• Hazard and Operability Study (HAZOP)
• Failure Modes and Effects Analysis (FMEA)
• Fault Tree Analysis (FTA)
• Event Tree Analysis (ETA)
7 เทคนิควิธี การชี้บ่งอันตรายใช้สำหรับการประเมินความเสี่ยง
สูตรที่เราใช้ในการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คือ
• Risk : คือ โอกาสที่จะทำให้สูญเสีย
• Likelihood : ระยะเวลา ความถี่
• Severity : อันตราย หรือ Hazard
ตามนิยามของ : Frank E.Bird,Jr and George L.Germain
ในการประเมินความเสี่ยงนั้น เราจำเป็นต้องทราบก่อนว่า ในการทำงานนั้นๆ มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง ซึ่งเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้เป็นอย่างมากก็คือ การทำการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย หรือ JSA นั่นเอง Job Safety Analysis (JSA) คือ การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย โดยแตกงานออกเป็นแต่ละขั้นตอน โดยปกติจะแตกงานขั้นตอนของงานอยู่ระหว่าง 7-11 ขั้นตอน
หลังจากนั้น ก็จะวิเคราะห์อันตรายของแต่ละขั้นตอน โดยนำหลักการของการชี้บ่งอันตรายมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นอันตราย ทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ การยศาสตร์ และ จิตสังคม และ หามาตรการในการป้องกัน
ตัวอย่างการประเมินความเสี่ยง
พนักงาน 2 ต้องเข้าไปในถังกรดซัลฟูริก เพื่อเข้าไปล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาด เราลองมาทำ JSA แบบง่ายๆ เพื่อค้นหาอันตรายกันดูนะครับ
หลังจากนั้น เราก็นำข้อมูลที่เราได้มาจากการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยมา เทียบค่ากับตารางด้านล่าง ที่เรานำมาใช้ในการประเมินความเสี่ยง (ซึ่งแต่สถานประกอบการอาจจะมีวิธีการประเมินที่แตกต่างกัน) ว่างานที่เราประเมินนั้นได้ผลการประเมินอยู่ในระดับใด
ในที่นี้ผมใช้ตัวอย่างการประเมินความเสี่ยงในที่อับอากาศจาก หนังสือ Confined Space Handbook, John F, Recus
จากภาพ เราประเมินแล้วว่า งานที่เราจะทำ โดยพิจารณาจากสถานการณ์ และวิธีการทำงานในปัจจุบัน ก่อนที่จะประเมิน พบว่ามีโอกาสเกิดขึ้นหลายครั้ง และ มีความรุนแรงระดับวิกฤต
ความเสี่ยงที่ประเมินได้คือ 2B คือ ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นก็ต้องหามาตรการป้องกันเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ จึงจะอนุญาตให้ทำงานได้
จะเห็นได้ว่าการประเมินความเสี่ยง ไม่ใช่เรื่องยาก หากเราให้ความสำคัญ และ ผลที่ได้รับนั้นมีประโยชน์ และ มีคุณค่ามหาศาลมาก เพราะนั่นหมายถึง ความปลอดภัยของพนักงานของเราครับ
“High Risk , High Injury”
บทความโดย
ปราโมทย์ โอภาสมงคลชัย
ผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย BBS
วิทยากร โค้ช ที่ปรึกษา และนักเขียน Best Seller