This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 06 กุมภาพันธ์ 2562 14:01

การบริหารความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคาร

       เหตุไฟไหม้เกิดขึ้นได้ทั้งในอาคารสถานประกอบกิจการ และอาคารที่อยู่อาศัย ตัวอย่างเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคารที่ไม่มีประสิทธิภาพจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย เป็นเหตุการณ์ไฟไหม้อพาร์ทเมนต์ที่เกิดขึ้นตอนกลางคืน ซึ่งสาเหตุเกิดจากช่องเปิดที่พื้นไม่ได้ปิดไว้

ทำให้เมื่อเกิดเพลิงไหม้จากห้องต้นเพลิงที่มีการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานและไม่มีการประเมินความเสี่ยงและทดสอบระบบว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นตัวอย่างที่ดีหรือเป็นกรณีศึกษาจะช่วยทำให้สถานประกอบกิจการเห็นถึงอันตรายและความสำคัญของอัคคีภัยมากขึ้น ทำให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายและแนวทางในการป้องกันอัคคีภัย เช่น การป้องกันการติดไฟ การป้องกันการลามของไฟไหม้ในระยะเริ่มต้นการแบ่งอาคารเป็นส่วน การตรวจสอบและแจ้งภัย การดับเพลิง และการอพยพหนีไฟ ซึ่งแนวทางการป้องกันอัคคีภัยนี้ ควรนำไปประยุกต์ใช้ในอาคารต่าง ๆ

ปัจจัยและผลกระทบต่อความเสี่ยงอัคคีภัย

การเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้อาคาร ทั้งการดัดแปลงอาคาร การปรับปรุงพื้นที่ การเปลี่ยนกิจกรรมการใช้อาคาร และการเปลี่ยนแปลงด้านวัสดุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยได้ หากไม่มีการประเมินความเสี่ยงและทดสอบระบบอัคคีภัยก่อนว่าสามารถใช้ได้ในบริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ได้ควรมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการอัคคีภัยที่เหมาะสม ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดอัคคีภัย เช่น ความไม่มีความรู้เรื่องอัคคีภัย ความไม่รู้ข้อกำหนดของกฎหมาย มีระบบอัคคีภัยที่ไม่เหมาะสม และละเลยในการดูแลและทดสอบระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นต้น

ประเภทอาคารและความเสี่ยงด้านอัคคีภัย

อาคารแต่ละประเภทมีการใช้วัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน มีลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน และความเสี่ยงของอาคารเก่ากับอาคารใหม่ ก็มีความเสี่ยงแตกต่างกัน โดยที่ความเสี่ยงของอัคคีภัยนั้นไม่มีทางเป็นศูนย์ แต่ระบบความปลอดภัยจะเป็นตัวช่วยป้องกันการเกิดเหตุได้

การบริหารความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคาร

มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคาร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 เป็นการออกแบบ: ต้องทราบพื้นที่การใช้งานการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบให้เหมาะสม เช่น การใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงหัวกระจายน้ำดับเพลิง เป็นต้น
  • ส่วนที่ 2 คือ การติดตั้ง:เช่น การติดตั้งถังน้ำมันสำรอง การติดตั้งประตูทนไฟ เป็นต้น 
  • ส่วนที่ 3 คือ การตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบระบบอัคคีภัยต่าง ๆ

       การบริหารความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคารต้องตระหนักถึงความเสียหายของการเกิดอัคคีภัยที่เกิดขึ้น โดยมีการนำกรณีเหตุการณ์ต่าง ๆ มาแสดงให้เห็นว่า แต่ละกรณีมีสาเหตุเกิดจากอะไร และส่งผลกระทบอะไรบ้าง เช่น อัคคีภัยในโรงงานส่งผลกระทบต่อการผลิตและความเชื่อมั่นของลูกค้า เป็นต้น เมื่อรับรู้ถึงปัจจัยและผลกระทบต่อความเสี่ยงอัคคีภัย และเกิดการตระหนักขึ้น ก็ต้องมีการลงมือปฏิบัติ โดยการที่จะลงมือปฏิบัติได้นั้น ต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ มาตรฐานระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่ใช้เป็นแนวทางในการวางระบบอัคคีภัย และเมื่อเห็นความสำคัญก็จะมีการกระตุ้นความร่วมมือให้มีการป้องกันอัคคีภัย โดยไม่ใช่การบังคับแต่เป็นการสร้างความร่วมมือซึ่งเมื่อเกิดอัคคีภัยแล้วมูลค่าความเสียหายที่จะเกิดเทียบกับมูลค่าการลงทุนระบบการป้องกันอัคคีภัยนั้นคุ้มค่ากว่ามากและผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นก็จะเกิดความมั่นใจในสถานประกอบกิจการของตนเอง ทำให้เกิดความร่วมมือที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน ทดสอบ หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ด้วยความเต็มใจและเกิดเป็นทัศนคติที่ดีภายในองค์กร

       อัคคีภัย ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยและสร้างความเสียหายจำนวนมากของประเทศไทย ความปลอดภัยอัคคีภัยในอาคารนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ สนับสนุน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โดยสำหรับสถานประกอบกิจการก็เป็นส่วนสำคัญที่ต้องดูแลพื้นที่ของตนเองให้เหมาะสม ซึ่งถ้ามีการร่วมมือกันของหน่วยงาน เช่น ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญจากอัคคีภัยแล้วมาจัดการความปลอดภัยอัคคีภัยในโรงงาน หรือหน่วยงานรัฐเอง ที่ออกกฎหมายอัคคีภัยให้ปฏิบัติตามที่ครอบคลุมและชัดเจน มีหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานระบบอัคคีภัยขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานที่จะนำไปประยุกต์ใช้ เมื่อทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและร่วมมือกันปฏิบัติตามหน้าที่ตนเอง จะช่วยลดเหตุการณ์การเกิดอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยได้

เข้าชม 13007 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพุธ, 06 กุมภาพันธ์ 2562 14:33

บทความที่ได้รับความนิยม