This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 06 กุมภาพันธ์ 2562 14:36

การศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ SMEs

       ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ผ่านนโยบายและมาตรการด้านต่าง ๆ อย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง โดยพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้อำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0 เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตตะพาบ เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ Thailand 4.0 ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

       ซึ่งรัฐบาลมีนโนบายชัดเจนในการช่วยเหลือสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ด้านการเงินรวมทั้งมาตรการในการผลักดันการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจะช่วยให้สถานประกอบกิจการ (SMEs) มีความเข้มแข็งในด้านการผลิตมากขึ้น แต่หากการดำเนินกิจการไม่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย ที่มีมาตรฐานและเป็นระบบแล้ว

        สถานประกอบกิจการนั้นก็มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจและความมั่นคงได้ดังข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องประการหนึ่งของสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) ในประเทศไทย คือการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างที่ทำงาน ซึ่งยังคงมีจำนวนการประสบอันตรายค่อนข้างสูง กล่าวคือมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนการประสบอันตรายของลูกจ้างทั่วประเทศ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีหน้าที่ในการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก(SMEs) เพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) สำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ เพื่อให้ลูกจ้างทำงานอย่างปลอดภัย ลดการบาดเจ็บและสูญเสียจากการทำงาน

        โดยการประสบอันตรายจากการทำงานทำให้เกิดผลกระทบในหลายมิติ ได้แก่ สถานประกอบกิจการต้องประสบกับกระบวนการผลิตขัดข้อง ผลผลิตเสียหาย และส่งผลถึงต้นทุนการผลิต ด้านการซ่อมบำรุง หรือเสียเวลาสรรหาแรงงานมาทดแทนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน แรงงานอาจต้องหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อภาครัฐเรื่องค่าใช้จ่ายทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน หรือสูญเสียภาษีเงินได้จากแรงงานที่ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต จากสถานการณ์การสูญเสียดังกล่าว สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องต้นทุนและความคุ้มค่าการลงทุนด้านความปลอดภัย ในปี พ.ศ. 2560 โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม เพื่อประมาณคุณค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อมีการลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน จากผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า ถ้าอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานลดลง 5% จะทำให้สามารถลดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ในภาพรวมระดับประเทศ 8,680 ล้านบาท/ปี และระดับบุคคล 0.64 ล้านบาท/ราย

        นอกจากนี้ สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) โดยสำนักวิจัยและพัฒนา ได้จัดทำการศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในปี พ.ศ. 2559 และในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 46 แห่งทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนด้านความปลอดภัยใน SMEs และเพิ่มความตระหนักรู้ของผู้บริหารสถานประกอบกิจการและเป็นแนวทางในการดำเนินการเชิงนโยบาย

        สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้นำเสนอผลจากการศึกษาและวิเคราะห์การลงทุนด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ SMEs ในงานการประชุมวิชาการนานาชาติด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (The International Conference on Occupational and Environmental Diseases: ICOED) เมื่อวันที่ 12-14 ธันวาคม 2561  ณ โรงแรม Miracle Grand Convention ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์

จากตารางที่ 1 สถานประกอบกิจการ SMEs มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานลดลง 0.22% ซึ่งสามารถลดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ในภาพรวมระดับประเทศ 387.34 ล้านบาท/ปี และลดมูลค่าความสูญเสียในระดับบุคคล 28,560 บาท/ราย

 

ตารางที่ 2 วิเคราะห์มูลค่าการลงทุนของสถานประกอบกิจการ

จากตารางที่ 2 มูลค่าการลงทุนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ SMEs เฉลี่ยรายหัวต่อลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ 46 แห่ง 7,455.44 บาท/ราย


ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

 

จากตารางที่ 3  มูลค่าความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ SMEs เฉลี่ย 21,104.56 บาท/ราย และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในสถานประกอบกิจการ SMEs เท่ากับ 2.26 ล้านบาท/แห่ง


ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริหารสถานประกอบกิจการให้ดำเนินมาตรการป้องการประสบอันตรายในแรงงาน และสามารถลดความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง

 

เข้าชม 5585 ครั้ง

บทความที่ได้รับความนิยม