This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 07 กุมภาพันธ์ 2562 11:06

ซิลิโคซิส (Silicosis) รักษาไม่หาย ป้องกันได้เพียงใส่ใจสุขภาพ

      ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีองค์ประกอบของผลึกซิลิกา ซึ่งฝุ่นประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “ฝุ่นหิน” (Dust stone) หรือ“ฝุ่นหิน ทราย” (sand stone dust) เมื่อหายใจเข้าไปเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า “โรคซิลิโคซิส” (Silicosis) ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลต่อ ระบบทางเดินหายใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และประชากร ที่อยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละลองเหล่านี้

เช่น การขุดเจาะพื้นดินที่มีหินเป็นองค์ประกอบเพื่อทำเหมืองแร่ ขุดอุโมงค์ โรงโม่หินหรือระเบิดหิน การผลิตกระเบื้องและอิฐทนไฟ หรือผงแร่อโลหะ การขัดผิวผลิตภัณฑ์เซรามิค การพ่นทรายเพื่อกัดสนิมโลหะ หรือการแกะสลักกระจก การเลื่อย ตัดแต่ง หรือขัดหินเพื่อนำไปใช้งาน เช่น ทำวัสดุปูพื้น ทำครก ตกแต่งสวน ป้ายหลุมศพ หรือ การนำซิลิก้าไปใช้เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิต เช่น หลอมแก้ว ทำแม่พิมพ์เพื่อหล่อโลหะจากข้อมูลจำนวนโรงงานและคนงานแยกตามประเภทอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นหินของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดิน หายใจ จากฝุ่นละอองสูงกว่าคนปกติทั่วไป ผลึกของซิลิกาบริสุทธิ ์หรือซิลิกอนไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อปอดทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพใช้เวลาก่อตัวประมาณ 3-5 ปี จึงจะปรากฏอาการโดยร่างกาย อ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายผู้ป่วยที่เป็นโรคซิลิโคซิสแบบ เฉียบพลันจะมีระยะเวลาเกิดโรคประมาณ 8-18 เดือน อาจมีวัณโรคแทรก พบในผู้ที่ทำงานในโรงงานที่ใช้หิน หรือซิลิกาเป็นวัตถุดิบและในคนงานก่อสร้างมี แนวโน้มว่ามีประชากรโลกป่วยด้วยโรคซิลิโคซิสเพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ คาดการณ์ว่ามีผู้เสี่ยงต่อการเป็นโรคซิลิโคซิสในประเทศไทยประมาณ 20,000 คน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2550) โรคนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรงผู้ป่วย จะทรมานจากการเป็นโรคจนกระทั้งเสียชีวิต องค์การอนามัยโลกได้เรียกร้องให้เร่งหามาตรการป้องกันการเกิดโรคซิลิโคซิสให้กับผู้ปฏิบัติงานและให้มีการควบคุมฝุ่นละอองซิลิกาจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
จากสถานการณ์ข้างต้นของโรคซิลิโคซิสรักษาไม่หายเป็นปกติ ซึ่งแนวทางการป้องกันตามหลักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมที่จะสามารถป้องกันการเกิดโรคซิลิโคซิสได้ โดยมีแนวทาง การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงการสูดหายใจเอาฝุ่นทรายเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จำเป็นต้องใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการป้องกันหรือลดปริมาณฝุ่นหินทรายที่มีอยู่ในบรรยากาศการทำงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย การป้องกันสามารถทำได้ดังนี้

  • การควบคุมป้องกันที่แหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น การใช้อุปกรณ์ปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจายออกมาจากเครื่องจักร วิธีการทำให้เปียก (wet methods) ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ (local exhaust ventilation)
  • ควบคุมและป้องกันทางผ่านฝุ่นg เช่น การปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นแนวป้องกัน การสร้างกำแพงหรือใช้ตาข่ายกั้นขอบข้างเครื่องจักรกับคนทำงาน
  • ควบคุมและป้องกันที่คนทำงาน ได้แก่ การใช้หน้ากากกรองฝุ่นหินได้ และได้รับการรับรองมาตรฐานจาก OSHA หรือ NIOSH หรือประเทศผู้ผลิต การป้องกันที่ดีหรือได้ผลมากที่สุดคือ การจัดการที่ต้นเหตุ หากไม่สามารถดำเนินการหรือจัดการได้ ทางเลือกต่อมาคือ การใส่หน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่น แต่การใส่หน้ากากเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ไม่ได้ผลเท่ากับการจัดการที่ต้นเหตุ มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไป เอกซเรย์ปอดและการตรวจสมรรถภาพปอดจากแพทย์ เพื่อเป็นการคัดกรองโรคเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคซิลิโคสิสควรได้รับการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยการรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไป

ผู้เรียบเรียง
อาจารย์ วิชาญ บุญค้ำ
สาขาวิชาอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

เข้าชม 36481 ครั้ง

บทความที่ได้รับความนิยม