This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพฤหัสบดี, 08 สิงหาคม 2562 14:33

BBS : พฤติกรรมความปลอดภัยแบบไทยๆ แบบไหนดี

แนวทางการขับเคลื่อนความปลอดภัยในการทำงาน และความเชื่อมโยงสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      การสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย นำไปสู่การสร้างและปรับปรุงวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรได้จากการสังเกตและการสื่อสาร/สร้างความสัมพันธ์กับพนักงาน ที่จะสามารถสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยได้ จากการพบปะ พูดคุย ให้ความรู้ และนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในเรื่องความปลอดภัยในองค์กร โดยกฎระเบียบเป็นแค่ตัวที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่ไม่ยั่งยืน รวมถึงการได้รับรางวัลจากภายนอก เช่น การได้รับของตอบแทนนั้น เป็นตัวที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ยั่งยืนได้แต่ไม่เท่ากับการได้รับรางวัลจากภายใน เช่น การได้รับการยกย่อง เป็นต้น ซึ่ง 3 สิ่งที่จะสามารถช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ

การดูแลตนเอง/คนรอบข้าง การกล้าที่จะพูดหรือเตือนเมื่อพบสิ่งที่อาจจะทำให้เกิดอันตราย และการเปิดใจรับฟังความคิดเห็น     โดยพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย คือ สติและสมาธิ (Mindful)ความเมตตากรุณา เอื้ออาทรใส่ใจ (Caring)และ วินัย/การปฏิบัติตามกฎระเบียบเสมอ (Discipline-right test, Right time every time) ซึ่งการฝึกสมาธิ การมีสติ สามารถกำกับพฤติกรรมภายในได้ ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมภายนอก และสามารถปรับเปลี่ยน กลายเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยได้ จึงจำเป็นที่ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดมุมมองที่ถูกต้องและประสบการณ์ที่สัมผัสได้ รวมถึงการจัดการระบบที่ดี ทำให้เราสามารถปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนนำไปสู่การขับเคลื่อนความปลอดภัยในการทำงานและการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรได้

       พฤติกรรมมนุษย์ แบ่งออกเป็นภายใน (ความเชื่อ แรงจูงใจ แรงผลักดัน)และภายนอก (ท่าทางแสดงออกไปให้ผู้อื่นรับรู้) ซึ่งสิ่งที่จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ กฎระเบียบ การใช้การสื่อสาร (เช่น การณรงค์) และเงิน ซึ่งหลักสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์คือ การตั้งเป้า (Goal setting)ทุกคนจะมีส่วนร่วมในการจัดตั้งเป้าหมายที่เฉพาะ ชัดเจน สามารถทำได้โดยง่าย โดยเป้าหมาย (Goal)ประกอบด้วย ทิศทาง (Directive) + แรงกระตุ้น/พลังงาน (Energize) + ความพยายาม (Persistence) และต้องคำนึงถึงผลตอบรับที่กลับมาและการสื่อสารให้ทราบโดยทั่วกัน รวมถึงความกลัวก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ด้วย

       พฤติกรรมความปลอดภัย(Behavior Base Safety-BBS)มีต้นกำเนิดจาก BST โดยในอดีต เน้นการสังเกตในการทำงาน (Observe)การเข้าไปพบ พูดคุยกับพนักงานเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยมี3 บริษัทที่เป็นที่ปรึกษาด้าน BBS ได้แก่ BST, Dupont, JMJ สำหรับแนวทางในการดำเนินการจัดการพฤติกรรมความปลอดภัย สามารถนำ 3 Golden circle มาใช้โดยWhat (อะไรที่ควรทำ-เข้าใจความเสี่ยง เพื่อจะได้หาแนวทางในการดำเนินการ) How (ทำอย่างไร-เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของความปลอดภัย นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย) Why (ทำไปทำไม-เพื่อให้เกิดความเชื่อที่ว่า อุบัติเหตุ สามารถป้องกันได้)

       วิธีการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture)เช่น 3E – Engineering (วิศวกรรมศาสตร์-การออกแบบความปลอดภัย) Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ-มาตรการ วิธีการทำงานให้ปฏิบัติตามอย่างปลอดภัย) และ Education (การศึกษา-การให้ความรู้ ฝึกอบรม เสริมสร้างความปลอดภัย) สำหรับประเภทขององค์กร ตาม Dupont แบ่งได้ดังนี้ Reactive (ไม่มีการป้องกันความปลอดภัยล่วงหน้า ต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนจึงป้องกัน) Dependent (อยู่ได้ด้วยระบบ มีต้นแบบ มาตรฐาน/กฎหมาย มีหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ) Independent (สามารถตระหนักถึงความภัยและดำเนินการได้เอง) และ Interdependent (สามารถตระหนักได้ด้วยตนเอง และเผื่อแผ่วิธีการดำเนินการไปยังผู้อื่น) ซึ่งการดำเนินการเรื่อง BBS จะต้องเป็นวิธีที่ที่ไม่ไปเพิ่มงานให้พนักงาน งบประมาณไม่มาก หากสอดคล้องกับความปลอดภัยได้ยิ่งดี

       สิ่งที่จะทำให้เราปลอดภัย มาจากค่านิยมของคน ระดับมรรค 8 ของแต่ละบุคคล (ศีล สมาธิ สติปัญญา) มุมมองที่พบและประสบการณ์ที่ได้รับ (หากเจอประสบการณ์ที่ไม่ดี ย่อมทำให้เกิดการระมัดระวังเป็นพิเศษ) และวัฒนธรรม/ค่านิยมขององค์กร โดยการเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยที่คนรอบข้างสัมผัสได้ (Felt Leadership)เป็นสิ่งที่ผู้บริหารควรมี โดยเริ่มจากตนเอง ที่ต้องมีความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยก่อน

       จากสถิติพบว่า ความเสี่ยงอันตรายภายนอกงานเกิดขึ้นมากกว่าภายในงาน ส่งผลให้พฤติกรรมความปลอดภัยจะต้องครอบคลุมตลอด 24 ชม. หากนอกงานมีความปลอดภัย ล้วนจะส่งผลให้ความปลอดภัยในงานให้มีคุณภาพมากขึ้นโดยจะต้องสร้างความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยแบบบูรณาการ (4 มิติ) แบบนามธรรม ประกอบด้วย 1) ความเชื่อ ตั้งใจ รับผิดชอบ 2)วัฒนธรรม แบบรูปธรรม 3) พฤติกรรม 4) ระบบการจัดการ และทำเรื่องความปลอดภัยให้เป็นเรื่องของตนเอง คือมีความเชื่อใจ ตั้งใจ ความรับผิดชอบ และคนรอบข้าง คือมีความเมตตา เอื้ออาทร ใส่ใจคนรอบข้าง

       ตัวอย่าง BBS จาก PPTGC – B-CAREs (B-Believe in safe behavior ทุกคนเลือกปฏิบัติตามกฎ โดยไม่มีการบังคับ, CARE-มีความห่วงใยตัวเอง คนรอบข้าง บริษัท, s-Stop if unsafe มีการหยุดทำงานทันทีเมื่อมีความเสี่ยงอันตราย) โดยมีแนวทาง ดังนี้ การจัดการ/เริ่มทำพันธะสัญญา การตั้งนโยบาย วางแผนการจัดการ (มีการเลือกหัวหน้า การฝึกอบรม การสื่อสาร) การดำเนินการจัดการ (การเดินสำรวจ การสังเกต พูดคุย – SWO=Safety Walk & Observation)และการรวมกันของการจัดการความปลอดภัย (Process safety) กับความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal safety)ที่จะนำมาซึ่งการสร้างวัฒนธรรมในองค์กร โดยการขับเคลื่อนจากภาระหน้าที่ ไปสู่การทำให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัฒนธรรมขององค์กร

 

ข้อมูลจากการสัมมนาวิชาการงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๓

โดย

  • นายกฤษฎา ชัยกุล
  • ผศ.ดร.มลินี สมภพเจริญ
  • นายประกาศ บุตตะมาศ
  • ผศ.ดร.ไชยนันท์ แท่งทอง
เข้าชม 28143 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพฤหัสบดี, 08 สิงหาคม 2562 14:46

บทความที่ได้รับความนิยม