This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 11 กันยายน 2562 09:42

งาน Safety ในอาเซียนและในต่างประเทศ

       การรวมตัวของประเทศอาเซียนที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันอย่างมากต่อมาตรการและระบบควบคุมและการป้องกันสภาพแวดล้อมและผลกระทบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้นเพื่อเป็นการระดมพลังและพัฒนาความร่วมมือในการดำเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน Asean จึงได้มีการก่อตั้งเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN Occupational Safety and Health Network; ASEAN-OSHNET) ขึ้น

        ประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศได้แก่ ประเทศเนการาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย มีการแบ่งงานโดยไทยรับเรื่องการพัฒนา มาเลเซียรับเรื่องมาตรฐาน ฟิลิปปินส์รับเรื่องฝึกอบรม อินโดนีเซียรับเรื่องวินิจฉัย สิงคโปร์รับเรื่องตรวจรักษา เพื่อพัฒนางานทางด้านอาชีวอนามัย เพิ่มความร่วมมือและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหน่วยงานและองค์กรด้านความปลอดภัยฯ ในภูมิภาค โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ในการดำเนินงาน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทักษะและการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง และมีการพัฒนาที่ก่อให้เกิดเอกภาพตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน

       สถานการณ์ที่ผ่านมา เกาหลีกับสิงคโปร์มีอัตราการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องจากการทำงานสูงมาก ขณะที่ จีน โรคซิริโคซิส (Silicosis) ญี่ปุ่น นิวโมนิโคโอซิส (Pneumoconiosis) มีแนวโน้มลดลง ไทยภาคเกษตรโรคจากสารเคมีสูง แต่กองทุนของเรายังไม่ได้ให้การคุ้มครอง ขณะที่เวียดนาม โรคซิลิโคซิส (Silicosis) จากการสัมผัสฝุ่นหินทรายเป็นเวลานาน พบผลการวินิจฉัยสูง เพราะมีองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เข้าไปช่วย รองลงมาคือโรคหูจากเสียงดัง (Noise Induced Hearing Loss) และโรคบิสซิโนซิส (Byssinosis) จากการสัมผัสฝุ่นฝ้าย,ป่าน,ปอและลินิน สิงค์โปรมีการตรวจสุขภาพวินิจฉัยชัดเจน การได้ยินจากเสียงดังแนวโน้มลดลง เป็นเพราะผลจากการใช้กฎหมายเข้มงวดจริงจัง เกาหลียังมีโรคกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก (Musculoskeletal Disease) จึงมีการสนับสนุนให้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นจึงเป็นผลให้ตัวเลขการวินิจฉัยสูงขึ้น

       ประเทศในอาเซียนหลายประเทศมีการใช้เทคโนโลยีในอัตราที่ต่ำ แต่การแข่งขันสูง ยิ่งโดยเฉพาะในลาว กัมพูชา เวียดนาม คนงานจึงขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทาข้างนอก มีแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติซึ่งไม่มีสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นต่างๆ และโรคที่สืบเนื่องจากการทางานด้วยการเร่งการผลิต จนทำให้คนงานเป็นโรคโครงสร้างกระดูกจำนวนสูงสุด ทั้งยังมีปัญหาที่คนงานยังขาดความเข้าใจและการเข้าถึงสิทธิได้ยาก

       งานอาชีวอนามัยในต่างประเทศได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยยิ่งขึ้น เนื่องจากต่างประเทศมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทาให้ระบบอุตสาหกรรมเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแทนแรงงานคน เพื่อให้เพียงพอต่อการตอบสนองของตลาด จึงเสี่ยงที่คนงานจะได้รับอันตรายและบาดเจ็บจากเครื่องจักร ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยของประเทศที่พัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น จะพบว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านี้มีกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานมาเป็นเวลานานแล้ว และทุกประเทศข้างต้นจะมีกฎหมายด้วยการกำหนดเป็นพระราชบัญญัติอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และมีการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้มาตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในภารกิจความรับผิดชอบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดังเช่น กรณีการตั้งหน่วยงานใหม่ คือ Occupational Safety and Health (OSHA) และ National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ในประเทศสหรัฐอเมริกา และหน่วยงาน Health and Safety Executive (HSE) และ Health and Safety Commission (HSC) ในประเทศสหราชอาณาจักร เป็นต้น ซึ่งในการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าวมุ่งเน้นที่จะป้องกัน,สร้างกลยุทธ์ที่จะลดอุบัติเหตุในสถานที่การทำงานที่ทาให้เกิดการบาดเจ็บและโรคจากการทำงาน และในปี ค.ศ. 2014-2020 นี้คณะกรรมการยุโรปได้สร้างกรอบแนวคิดใหม่ที่ท้าทาย โดยเป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้นสำหรับเงื่อนไขในการทำงานทั้งในยุโรปและระดับสากล ให้ดำเนินงานไปในแนวเดียวกันกับกลยุทธ์ของยุโรปปี 2020 เพื่อมุ่งหวังที่จะลดโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน

 

บทความโดย : 

รศ.ดร.พรพรรณ  สกุลคู

สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เข้าชม 9582 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพุธ, 11 กันยายน 2562 09:54

บทความที่ได้รับความนิยม