This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 11 กันยายน 2562 09:56

การใช้วงล้อ PDCA กับการบริหารงานก่อสร้าง

       ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายหลายโครงการ ทั้งในเขตกรุงเทพและต่างจังหวัด เช่น รถไฟฟ้า อาคารสำนักงาน บ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียม ล้วนแต่มูลค่าการก่อสร้างสูงๆทั้งนั้น สำหรับจุดประสงค์ในการก่อสร้าง  นอกจากจะต้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดและมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าหรือเจ้าของงานแล้ว เป้าหมายอีกประการหนึ่ง   คือไม่ให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างที่ดำเนินการก่อสร้าง เพราะหมายถึงการสูญเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

 

        การสูญเสียทางตรง  หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงิน เช่น ในการค่าทำขวัญ ค่าทำศพ กรณีที่มีการเสียชีวิต หรือค่าซ่อมเครื่องจักร  ถ้าเครื่องจักรนั้นเกิดการเสียหาย 

        การสูญเสียทางอ้อม  หมายถึง  การเสียชื่อเสียง ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียที่ใหญ่มาก เพราะการสูญเสียประเภทนี้เป็นการสูญเสียในด้านภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งมีผลทางด้านธุรกิจ เช่น ในระหว่างมีการก่อสร้างโครงการบ้านจัดสรรโครงการหนึ่งแล้วมีอุบัติเหตุร้ายแรงเกิดขึ้นจนทำให้มีผู้คนเสียชีวิต และมีข่าวดังไปทั่วประเทศ บ้านจัดสรรโครงการนี้อาจจะขายไม่ได้ก็ได้ หรือขายได้น้อยเพราะหลายๆๆคนคงไม่อยากอยู่บ้านที่มีการตายเกิดขึ้นขณะก่อสร้าง

        เจ้าของงานก็ได้ผลกระทบในด้านธุรกิจในการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้โดยตรง ส่วนผู้รับเหมาก็ได้ผลกระทบตามมา เพราะไม่มีผู้ว่าจ้างงานให้ไปดำเนินการก่อสร้างในโครงการอื่นๆต่อไปการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในโครงการขนาดใหญ่ๆๆนี้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์เข้าใจตัวระบบการจัดการที่ดี และสามารถควบคุมไม่ให้เกิด หรือเมื่อเกิดแล้วก็ไม่รุนแรงได้ นั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากอะไรเลยเพราะเรื่องการบริหารงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน หรือทำงานให้เกิดความปลอดภัยนั้น มีหลักในการจัดการมากมายหลายวิธี แต่ถ้าจะให้ได้ผลที่ดีนั้นจะต้องดำเนินการแบบผสมผสานกัน

       เพราะโครงการต่างๆ มีสภาพแวดล้อม บุคลากร และปัจจัยอื่นๆ  ที่ไม่เหมือนกัน  ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากท่สุดไม่ว่าเป็นโครงการเล็กหรือใหญ่ต่างก็มีจุดประสงค์สูงสุดเดียวกัน คือ ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในโครงการ

 

วิธีจะไปสู่จุดมุ่งหมายความปลอดภัยในการทำงานได้นั้น มีแนวทางในการดำเนินงาน คือ วิธี “ วงล้อ PD C A ของของดร.เดมมิ่ง

 

 

        สำหรับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยตามวิธีของดร.เดมมิ่ง เจ้าตำหรับแห่งการปรับปรุงคุณภาพงานให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรมมาตั้งแต่เมื่อปี 1946 เป็นที่รู้จักกันดีในโรงงานอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เราสามารถนำหลักการนี้มาประยุกต์ใช้กับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ดังนี้

        P : plan ความหมายของ planning  คือ การวางแผน ซึ่งตรงกับการดำเนินการด้านความปลอดภัย ได้แก่การประเมินความเสี่ยงว่าโครงการก่อสร้างมีระดับความเสี่ยงอะไรบ้าง เพื่อจะได้ดำเนินการกำหนด การป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิด ซึ่งข้อกำหนดที่ใช้เป็นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ คือกฏหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งกฏหมายที่บังคับใช้สำหรับงานก่อสร้างนั้น ทางการได้อำนวยความสะดวก โดยรวบรวมที่เดิมเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่มีมากมายหลายเรื่อง หลายฉบับ มาเป็นฉบับเดียวกัน คือ กฏกระทรวง เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับงานก่อสร้าง  พ.ศ 2551 มีทั้งหมด 15 หมวด 112 ข้อ ซึ่งมีข้อมูลมากพอ ที่จะใช้เป็นแนวทางปฎิบัติ  และนำมาเป็นนโยบาย เป้าหมายของบริษัทหรือโครงการก่อสร้างที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่อีกทั้งนำมาใช้เป็นข้อกำหนดแนวทางปฏิบัตสำหรับทำให้เกิดความปลอดภัยในงานต่างๆๆระหว่างก่อสร้าง

        D:Do คือ ต้องลงมือทำแผนงานนั้นซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยด้วยดีเช่นกัน แต่การดำเนินการนี้อาจจะยุ่งยากสักหน่อย เพราะว่าเรื่องความปลอดภัยในการทำงานนั้นไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว จพต้องได้รับความร่วมมือด้วยกันทุกฝ่าย ซึ่งวิธีที่ดีและง่ายที่สุดที่จะให้ทุกคนมีส่วนร่วม คือการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงานในโครงการ เช่น กำหนดให้พนักงานระดับหัวหน้างาน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในระดับหัวหน้างาน โดยส่งไปอบรมกับหน่วยฝึกที่ดำเนินการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองตามกฏหมายกำหนด

อีกประการหนึ่ง คือสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ซึงแรงจูงใจนี้ไม่ได้หมายถึงค่าตอบแทนที่พนักงาน ซึ่งแรงจูงใจนี้ไม่ได้หมายถึงค่าตอบแทนหรือรางวัลที่ให้แก่พนักงาน  เนื่องจากเขาเหล่านั้นได้ทำให้จุดประสงค์หรือเป้าหมายของบริษัท โครงการบบลุจุดประสงค์ คือไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในโครงการ ซึ่งรางวัลนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เป็นสิ่งของก็ได้ หรือเป็นใบประกาศเกียรติบัตร  เกียรติคุณ มีโลโก้บริษัทและลายเซ็นของระดับผู้บริหารสักใบก็เพียงพอ ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในกิจกรรม และจะทำต่อไป

        C: Check หมายถึง การตรวจสอบทบทวนว่าสิ่งที่ได้ดำเนินการนั้นติดขัดปัญหาและข้อบกพร่องอะไรบ้าง

        A:Action คือการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา ซึ่งจะให้เกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องดำเนินการทันที โดยนำหลักการทั้ง 2 นี้มาใช้ร่วมกัน คือการวัดผลจากที่เราได้ตั้งไว้  เช่น ถ้าโครงการตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 180 วัน ต้องไม่มีการการเกิดอุบัติเหตุ แต่เมื่อทำไปได้ 150 วัน มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทำให้ไม่ได้ตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ต้องตั้งเป้าหมายใหม่

        ถ้าการบริหารการจัดการดี ก็สามารถนำทฤษฎีของดร.เคมมิ่งมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเรียกว่า “การตรวจสอบอุบัติเหตุ”จุดประสงค์ก็คือต้องการทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อที่จะดำเนินแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

        ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งนั้นอาจจะไม่ใช่เกิดจากการประมาทของตัวพนักงานอย่างเดียว อาจเกิดจาการปัจจัยอื่นๆๆ ที่มาเกี่ยวข้องก็ได้

        การเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าเล็กน้อยหรือรุนแรง จะต้องมีการสอบสวนอุบัติเหตุทุกราย และจะต้องดำเนินการแก้ไขทันทีตามหลัก A:Action ซึ่งการแก้ไขนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ที่ “ ต้นเหตุ ” ของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้าง คือความไม่รู้ ความไม่เข้าใจของพนักงาน ว่าเมื่อทำแล้วจะเกิดผลร้ายแรงอย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

        การทำให้พนักงานรู้และเข้าใจ คือต้องฝึกอบรม และสำหรับการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยนั้น ไม่จำเป็นต้องให้พนักงานมาอบรมในห้องเพียงอย่างเดียว อาจไปอบรมพนักงานในขณะที่กำลังปฏิบัติงานก็ได้

 

บทความโดย : รุจน์  เฉลยไตร กรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)

เข้าชม 12793 ครั้ง

บทความที่ได้รับความนิยม