This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันพุธ, 26 สิงหาคม 2563 09:52

ทำความรู้จัก “แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3)”

“แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3)” ชื่อทางเคมีตาม IUPAC: Ammonium nitrate  CAS: 6484-52-2 (ดังแสดงตามภาพประกอบที่ 1) โดยเป็นสารประกอบซึ่งมีคุณลักษณะทางกายภาพที่มีส่วนประกอบของ แอมโมเนีย และ ไนโตรเจน  โดยส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเป็นปุ๋ยเพื่อการเกษตร และนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของวัตถุระเบิด มีรูปลักษณ์เป็นผลึกใส ไม่มีกลิ่น มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบในปริมาณมากพอที่จะไม่ต้องพึ่งออกซิเจนจากภายนอกในการทำให้เกิดเพลิงไหม้ แต่หากมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสความร้อนสูง มีโอกาสยากมากที่สารชนิดนี้จะระเบิดขึ้นมา ซึ่งหากมีการเบิดจะทำความเสียอย่างรุนแรง

ภาพประกอบที่ 1 : สูตรทางเคมี แอมโมเนียมไนเตรต Ammonium nitrate

      ในปัจจุบัน “แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3)” เป็นสารเคมีเคมีที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ให้ออกซิเจนและนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการทำวัตถุระเบิด โดยปัจจุบันต้องมีการขออนุญาตนำเข้าส่งออกและครอบครองรวมถึงการจัดเก็บภายใต้หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมศุลกากร เป็นต้น จากสถานการณ์ที่ผ่านมาได้พบว่าการจัดเก็บแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) อย่างไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดเหตุอุบัติภัยจากการระเบิดจากการจัดเก็บของสารเคมีดังกล่าวตามมา โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด เกิดเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่บริเวณคลังจัดเก็บสารเคมี แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) ในท่าเรือกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยกว่า 200 คน และบาดเจ็บอีกหลายพันคน รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างเสียหายและมีรัศมีการเบิดหลายกิโลเมตร (ดังแสดงตามภาพประกอบที่ 2)

ภาพประกอบที่ 2 : เหตุระเบิดจากสารเคมี แอมโมเนียมไนเตรต, กรุงเบรุต ประเทศเลบานอน

 

      ในส่วนของประเทศไทยได้มีเหตุการณ์เกิดเหตุระเบิดจากสารเคมี “โปแตสเซียมคลอเรต” (KClO3)  แต่เกิดกับชาวสวนลำไยที่นิยมใช้สารเคมีชนิดนี้ในการเร่งผลผลิตของผลลำไยในสวน ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างมหาศาล เช่น ในปี พ.ศ. 2542 โรงงานอบลำไยที่จังหวัดเชียงใหม่ ระเบิดจาก “โปแตสเซียมคลอเรต” (KClO3) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ต.บ้านกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ในระหว่างที่คนงานกำลังนำสารโปแตสเซียมคลอเรตผสมกับสารอื่นๆ ตามสูตรเร่งดอกลำไย แต่กลับเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ที่ไม่คาดคิด ทำให้สารเคมีการเกษตรแปรสภาพเป็นสารก่อระเบิดที่มีอานุภาพร้ายแรง ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 36 ราย บาดเจ็บ 2 คน โรงงานพังเสียหายทั้งหมด ขณะที่ชุมชนที่อยู่รายรอบในรัศมี 1 กิโลเมตรของโรงงานจำนวน 571 หลังคาเรือนเสียหาย และมีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน รวมมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้น 103 ล้านบาท

       จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์อุบัติเหตุระเบิดของสารเคมีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จัดเก็บที่เกิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ประกอบกิจการคลังสินค้า รวมถึงแรงงานการขนถ่ายสินค้าท่าเรือหรือแรงงานภาคการเกษตรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บสารเคมี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องเร่งสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในการใช้และการจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธีในสถานประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อลดการสูญเสียในชิวิตและทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

แอมโมเนียมไนเตรต. 2563 สืบค้นออนไลน์ วิกิพีเดีย เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org

แอมโมเนียมไนเตรต. 2563 บุญรักษ์ กาญจนวรวณิชย์. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

          เข้าถึงได้จาก: https://www.mtec.or.th/post-knowledges/2809/

สกู๊ปข่าว. 2563 สืบค้นออนไลน์ เหตุการณ์ระเบิดที่กรุงเบรุต. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892546

เข้าชม 46987 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันพุธ, 26 สิงหาคม 2563 10:32

บทความที่ได้รับความนิยม