This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
วันจันทร์, 21 มิถุนายน 2564 11:07

การบริหารจัดการในการทำงานบนที่สูง

 

         คนงานที่ทำงานบนที่สูง มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดอุบัติเหตและในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งมีผลกระทบที่รุนแรง อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงจากสถิติที่ผ่านมา ดังนั้นบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป ไลสาจท์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตจำหน่ายและติดตั้งหลังคาเหล็กเมทัลชีท เห็นถึงความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงเป็นอันดับหนึ่ง เราจัดให้มีมาตรฐานความปลอดภัยในการติดตั้งผนังและหลังคาเมทัลชีท และการอบรมให้มีการติดตั้งอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ที่ติดตั้งและบุคคลทั่วไปได้มีความเข้าใจในการติดตั้งที่ถูกต้อง รวมถึงการความปลอดภัยในการติดตั้งผนังหลังคาด้วย

         การบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงของ บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป ไลสาจท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเอา CODE OF PRACTICE FOR CONTRACTOR SAFETY MANAGEMENT ของ บริษัท เอ็นเอส บลูสโคป มาบริหารจัดการ โดยรายละเอียดสามารถสรุปได้ 9 ข้อ ดังนี้

  1. Assign Management Roles กำหนดบทบาทการจัดการของผู้บริหาร

  2. Provide Appropriate Training จัดให้มีการฝึกอบรมที่เหมาะสม

  3. Outline the Scope and Conduct Risk Assessment ร่างขอบเขตและดำเนินการประเมินความเสี่ยง

  4. Pre-Qualify Contractors ผู้รับเหมาที่ผ่านการคัดเลือก

  5. Determine OHS System กำหนดระบบความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

  6. Provide Site Inductions จัดการสอนความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

  7. Implement a Management System ดำเนินการใช้ระบบบริหารจัดการ

  8. Managing Poor OHS Performance การจัดการประสิทธิภาพความปลอดภัย ที่ไม่ดี

  9. Review Contractor OHS Performance สอบทวนประสิทธิภาพความปลอดภัยของผู้รับเหมา

 

ในการบริหารการก่อสร้างมีการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

 

1. ก่อนเริ่มโครงการ (Pre Construction Phase)

  • Assign Management Roles กำหนดบทบาทการจัดการของผู้บริหาร เริ่มตั้งแต่ กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง อนุมัติการคัดเลือกผู้รับเหมา ประเมินความเสี่ยงแต่ละโครงการ

  • Provide Appropriate Training จัดให้มีการฝึกอบรมที่เหมาะสม ฝึกอบรมในแต่ละขั้นตอนการทำงาน รวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการทำงานที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับลักษณะของงานในแต่ละประเภท เช่น ขนาดของลวดสลิง คลิปล็อกและมาตรฐานการติดตั้ง

  • Outline the Scope and Conduct Risk Assessment ร่างขอบเขตและดำเนินการประเมินความเสี่ยง จะประกอบด้วย 4 ส่วนที่นำมาพิจารณาระดับความปลอดภัยของเจ้าของงาน (Owner) ระดับความปลอดภัยของผู้รับเหมาหลัก (Main Contractor) สภาพแวดล้อมของโครงการ (Project condition) และ รูปแบบอาคาร การออกแบบ (Build Shape/ Form / Design)

  • Pre-Qualify Contractors ผู้รับเหมาที่ผ่านการคัดเลือก เกณท์การคัดเลือกประกอบด้วย ข้อกำหนดตามกฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยสอดคล้องกับจำนวนพนักงาน การอบรมความปลอดภัยของผู้บริหาร ประสบการณ์ด้านความปลอดภัยของผู้รับเหมา การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของผู้รับเหมา

  • Determine OHS System กำหนดระบบความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง เช่น ใช้ ลวดสลิง Lifeline ขนาด ไม่น้อยกว่า 12 มิลลิเมตร คลิปที่ใช้ล็อกสลิงไม่ต่ำกว่า 6 ตัว มีตาข่ายนิรภัยควบคู่กันในระหว่างการทำงาน รวมถึงทางขึ้น-ลงที่ปลอดภัย

2. ระหว่างการก่อสร้าง (Construction Phase)

  • Provide Site Inductions จัดการสอนความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง ข้อกำหนดสากลต่างๆ เช่นการใช้รถกระเช้าอย่างปลอดภัย การใช้เครน ฯ รวมถึงกำหนดให้มีใบรับรองต่างๆ ตามกฎหมายกำหนด

  • Implement a Management System ดำเนินการใช้ระบบบริหารจัดการ ในระหว่างการก่อสร้างมีการกำหนดการทำการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ รวมถึงกำหนดให้ผู้บริหารทำการร่วมตรวจสอบด้วย หากพบประเด็นต่างๆ ด้านความปลอดภัย จะมีการดำเนินการเช่น นำเข้าที่ประชุมความปลอดภัยประจำสัปดาห์ และที่ประชุมความปลอดภัยประจำเดือน รวมถึงที่ประชุมของผู้บริหารเพื่อทำการแก้ไขและพัฒนาระบบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง

  • Managing Poor OHS Performance การจัดการประสิทธิภาพความปลอดภัยที่ไม่ดี เรามีระบบการให้คะแนนความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้าง โดยการทำการตรวจสอบความปลอดภัย (Safety audit) มีโปรแกรม ออนไลน์ที่ผู้บริหารสามารถทราบถึงประเด็นความปลอดภัยที่เกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างแบบเรียวไทม์

 

3. สิ้นสุดการก่อสร้าง (Post Construction Phase)

  • Review Contractor OHS Performance สอบทวนประสิทธิภาพความปลอดภัยของผู้รับเหมา เราได้นำเอาผลการตรวจสอบความปลอดภัยในแต่ละครั้งมารวบรวมประเมินผลหลังจบโครงการ เกณฑ์การให้คะแนนอยู่ที่ 70% หากคะแนนไม่ถึงเกณฑ์น้อยกว่า อยู่ที่ 60-69 % อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง น้อยกว่า 60% จะไม่สามารถรับโครงการต่อได้

 

โดยสรุป เรามีระบบบริหารจัดการตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ต้นน้ำ คือ ก่อนได้โครงการเรามีการทำมาตรฐานในการทำงานทุกขั้นตอน Project risk assessment เตรียมผู้รับเหมาให้เหมาะกับโครงการ ก่อนเริ่มงาน

กลางน้ำ คือ ระหว่างทำงานเรามีการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ และนำผลการตรวจสอบรายงานกับผู้บริหาร รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพผู้รับเหมาทุกเดือน ทำให้เราสามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันเวลา 

ปลายน้ำ คือ การประเมินประสิทธิภาพผู้รับเหมา และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ก่อนให้งานโครงการใหม่กับผู้รับเหมา

สรุปคือ ในทุกขั้นตอนมีการบริหารจัดการในเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ทำให้เราสามารถประเมิน บริหาร ควบคุมการทำงานของผู้รับเหมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทความโดย : คุณอภิชา ครุธาโรจน์   ตำแหน่ง  Construction HSE Manager

 

เข้าชม 4873 ครั้ง แก้ไขล่าสุด วันจันทร์, 21 มิถุนายน 2564 11:33