This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

phitsanoo

phitsanoo

วันพฤหัสบดี, 11 มิถุนายน 2563 15:56

OSHE New Normal วิกฤต โอกาส ทางเลือกใหม่

 

OSHE คือ Occupational Safety Health & Environment : ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

New Normal คือ  ความปกติใหม่ วิถีใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ (ในแบบเดิม)

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence)        

     ด้วยวิวัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว AI เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิต และการทำงาน

   AI สามารถสั่งการ ควบคุม และอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ง่าย สะดวกและรวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัดจุดสำคัญ หรือการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์กับเครื่องจักร หรือแม้แต่เครื่องจักรกับเครื่องจักร ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Internet of Things: IOT) และมีการใช้เทคโนโลยีจำลองภาพเสมือน (Virtual Reality: VR) เพื่อใช้ฝึกอบรม สัมมนา หรือการควบคุมผ่านระยะไกล แต่ AI ก็ไม่สามารถมีวิจารณญาณเทียบเท่ามนุษย์ในการตัดสินใจสำคัญๆ ได้

     แนวคิด   

  การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

    แนวทาง  

  การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ MDC