This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

phitsanoo

phitsanoo

วันอังคาร, 27 สิงหาคม 2562 14:20

6 Keys to Success of Safe Behavior

1. นายจ้างให้ความสำคัญ
2. ทีมงานมาจาก อาสาสมัคร มากกว่า ถูกบังคับ
3. ลูกจ้างได้รับการอบรม
4. ฉลอง เมื่อประสบความสำเร็จ
5. บอกถึงเบื้องหลังของความสำเร็จ ให้ทุกคนทราบ
6. ตั้งเป้าหมายความปลอดภัยใหม่ ให้ท้าทายกว่าเดิม

 

      ความก้าวหน้าของโลกปัจจุบันทำให้เราได้ข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเแต่ละปีมีความชัดมากขึ้น การรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะผ่านสื่อออนไลน์ มีความง่ายในการค้นหาและชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลจากองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO สะท้อนให้เราได้เห็นสถิติการเสียชีวิตเฉลี่ยถึง 2.78 ล้านคนต่อปี

วันอังคาร, 27 สิงหาคม 2562 09:41

OSHE Magazine ฉบับที่ 9

 

           นโยบาย Safety Thailand เกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ทรงเห็นว่าคนที่เข้ามาในกระบวนการฟื้นฟูไม่ควรจะเกิดขึ้น หากสถานประกอบกิจการมีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย ต้องสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้แรงงานแต่ละประเภท จึงควรป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานดีกว่าทำงานแล้วเกิดอุบัติเหตุ จึงมี กฎหมาย มาตรฐาน หรือ ข้อกำหนด ข้อแนะนำต่างๆที่จะทำให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนทำงานอย่างปลอดภัย Process Safety Management เป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยลดความรุนแรงไม่ให้เกิดวินาศภัย รวมถึงป้องกันอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย การสูญเสียจากการทำงาน และช่วยให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

     แนวคิด   

  การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

    แนวทาง  

  การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ MDC