This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

phitsanoo

phitsanoo

บุคคลที่มีแนวโน้มจะมีอาการปวดหลัง  หรือมีพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังอยู่เดิม  หรือมีพยาธิสภาพ ที่กระดูกสันหลังอยู่เดิม  แต่ไม่แสดงอาการก่อนเข้าสมัครงาน  เมื่อได้ทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเกิด อาการปวดหลังขึ้นมา ถ้าเป็นโรคร้ายแรงต้องออกจากงาน  ปัจจัยเสี่ยงของการอาการปวดหลังจากการทำงาน  เคยมีประวัติปวดหลังมาก่อน

          อุบัติเหตุจากการทำงานที่ลดลงในปัจจุบันนั้นเกิดจาก เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการทำงานที่มีความก้าวหน้า และทันสมัยมากขึ้น แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากจิตสำนึกความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง และสาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมความปลอดภัยเกิดขึ้นไม่ได้ เนื่องจาก
3 ปัจจัย ดังนี้

     จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2560 พบว่าประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีจำนวน 11.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มประชากรสูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประชากรวัยเด็กและวัยทำงานลดลง ส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) ภายในปี 2564 การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของประชากรดังกล่าวส่งผลให้อายุเฉลี่ยของแรงงานไทยจะสูงขึ้น แรงงานที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

       ท่านทราบหรือไม่ว่า ในแต่ละปี มีคนนับล้านบนโลกใบนี้ต้องเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยในระหว่างการทำงาน หากนับเป็นวัน สถิติจาก ILO บอกให้เรารู้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวัน มีเพื่อนซึ่งเป็นคนทำงานเหมือนกับเราต้องเสียชีวิตถึง 7,700 คนต่อวัน หรือในทุกๆ 15 วินาที ยังไม่รวมการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยในระดับอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการหยุดงาน ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว และที่น่าตกใจคือกลับมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเมื่อเทียบกับ 3 ปีที่ผ่านมา

วันจันทร์, 30 กันยายน 2562 09:30

คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life)

         การทำงานมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอุตสาหกรรม คาดกันว่ามนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยอยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน และยังเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เวลาของชีวิตเกี่ยวข้องกับการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งคนวัยแรงงานเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของโครงสร้างประชากรไทย เป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นกลุ่มประชากรที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญไม่เพียงในการพัฒนาศักยภาพแต่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

วันศุกร์, 27 กันยายน 2562 15:02

OSHE Magazine ฉบับที่ 10

     แนวคิด   

  การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

    แนวทาง  

  การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ MDC