This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

phitsanoo

phitsanoo

วันศุกร์, 11 กันยายน 2563 15:20

แร่ใยหิน (Asbestos)

การรั่วไหลของสารเคมีจากท่อหรือถังเก็บที่มีความดันสูง สามารถประเมินการปลดปล่อยสารพิษและการแพร่กระจายจากแบบจำลอง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากปัจจัยพื้นฐาน 3 ขั้นตอน ดังนี้

“แอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3)” ชื่อทางเคมีตาม IUPAC: Ammonium nitrate  CAS: 6484-52-2 (ดังแสดงตามภาพประกอบที่ 1) โดยเป็นสารประกอบซึ่งมีคุณลักษณะทางกายภาพที่มีส่วนประกอบของ แอมโมเนีย และ ไนโตรเจน  โดยส่วนใหญ่นิยมนำไปทำเป็นปุ๋ยเพื่อการเกษตร และนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของวัตถุระเบิด มีรูปลักษณ์เป็นผลึกใส ไม่มีกลิ่น มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบในปริมาณมากพอที่จะไม่ต้องพึ่งออกซิเจนจากภายนอกในการทำให้เกิดเพลิงไหม้ แต่หากมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสความร้อนสูง มีโอกาสยากมากที่สารชนิดนี้จะระเบิดขึ้นมา ซึ่งหากมีการเบิดจะทำความเสียอย่างรุนแรง

     แนวคิด   

  การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

    แนวทาง  

  การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ MDC