This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111

 

phitsanoo

phitsanoo

วันจันทร์, 11 กุมภาพันธ์ 2562 09:19

ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

วันพฤหัสบดี, 07 กุมภาพันธ์ 2562 11:16

ภัยร้ายจากการทำงานกับของเหลวไวไฟ

ของเหลวไวไฟ (flammable liquid) เป็นสารเคมีอันตรายกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษา การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับของเหลวไวไฟ เช่น การใช้งาน การจัดเก็บ การกำจัดอย่างไม่ปลอดภัย อาจก่อให้เกิดอันตรายและส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้ สารเคมีหกรั่วไหล ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวผู้ปฎิบัติงาน เพื่อนร่วมงาน ทรัพย์สินขององค์กร ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้

      ฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีองค์ประกอบของผลึกซิลิกา ซึ่งฝุ่นประเภทนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า “ฝุ่นหิน” (Dust stone) หรือ“ฝุ่นหิน ทราย” (sand stone dust) เมื่อหายใจเข้าไปเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคที่เรียกว่า “โรคซิลิโคซิส” (Silicosis) ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลต่อ ระบบทางเดินหายใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และประชากร ที่อยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นละลองเหล่านี้

      นับตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561(ค.ศ.2018) ที่ผ่านมาองค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (THE INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR STANDARDIZATION : ISO) ได้ออกมาตรฐานการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 ขึ้นเป็นฉบับแรก ทำให้แวดวงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คึกคักเป็นพิเศษ หลังจากที่เฝ้ารอกันมายาวนาน

วันพฤหัสบดี, 07 กุมภาพันธ์ 2562 09:45

คุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Working life)

        การทำงานมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ปฏิบัติมากกว่ากิจกรรมใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอุตสาหกรรม คาดกันว่ามนุษย์ได้ใช้เวลาถึงหนึ่งในสามของชีวิตเป็นอย่างน้อยอยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน และยังเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มนุษย์จำเป็นต้องใช้เวลาของชีวิตเกี่ยวข้องกับการทำงานเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งคนวัยแรงงานเป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุดของโครงสร้างประชากรไทย เป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จึงเป็นกลุ่มประชากรที่ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญไม่เพียงในการพัฒนาศักยภาพแต่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

       ตามนโยบายรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ผ่านนโยบายและมาตรการด้านต่าง ๆ อย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง โดยพลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้อำนาจของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พัฒนาประเทศมุ่งสู่ Thailand 4.0 เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตตะพาบ เน้นภารกิจการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ Thailand 4.0 ให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

              สถานที่อับอากาศ (confined spaces) หมายความว่า สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน และเป็นสถานที่ที่ไม่ได้ออกแบบให้เข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่อง

     แนวคิด   

  การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

    แนวทาง  

  การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับ MDC