This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Thai languages
+66 2 448 9111
previous arrow
next arrow
Slider

ข่าวกิจกรรม

ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศล่าสุด

ประกาศรายชื่อผู้เข้าอบรม/สัมมนา

ประกาศรับสมัครงาน


ติดต่อสอบถาม

งานทรัพยากรบุคคล

  0 2448 9111 ต่อ 306

  hr@tosh.or.th

 

  1. ข่าวกิจกรรม
  2. จัดซื้อจัดจ้าง
  3. ประกาศชื่ออบรม/สัมมนา
  4. ประกาศสมัครงาน
ประกาศจัดซื้อจัดจ้างล่าสุด

 

ติดต่อสอบถาม

งานทรัพยากรบุคคล

  0 2448 9111 ต่อ 209

  hr@tosh.or.th

 

ประกาศรับสมัครงาน / ประกาศรายชื่อ


ข่าวประชาสัมพันธ์-ปฏิทิน
ปฏิทินกิจกรรม
Apr 2025
พฤ อา
1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30

นิตยสารความปลอดภัย   

คู่มือ/มาตรฐาน/งานวิจัย   

โปสเตอร์   

บทความ   

แนะนำเว็บไซต์

วิสัยทัศน์ผู้บริหาร

  • นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พัฒนากลไกการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย มุ่งลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานให้เป็นรูปธรรม
  • 1
  • 2

 

ผลการประเมินองค์การมหาชน

ปี 2563  93.31  คะแนน
ปี 2564  90.05  คะแนน
ปี 2565  93.41  คะแนน
ปี 2566  93.37  คะแนน
ปี 2567  97.75  คะแนน

ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

ปี 2563  88.75  คะแนน
ปี 2564  94.73  คะแนน
ปี 2565  93.70  คะแนน
ปี 2566  91.38  คะแนน
ปี 2567  89.96  คะแนน

ผลการประเมินสถานะหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA)

ปี 2564  309.84  คะแนน
ปี 2565  420.28  คะแนน
ปี 2566  422.03  คะแนน
ปี 2567  456.57  คะแนน

ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการปฏิบัติงานของ สสปท.

ปี 2562  86.60  คะแนน
ปี 2563  88.00  คะแนน
ปี 2564  90.80  คะแนน
ปี 2565  88.34  คะแนน
ปี 2566  89.91  คะแนน
ปี 2567  92.49  คะแนน

 

T-OSH Application:

ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly Worker)

            ด้วยประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีอัตราการเกิด (Fertility Rate) ต่ำลง ซึ่งผันแปรกับจำนวนประชากร ผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีอายุเฉลี่ยของประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการพัฒนาด้าน การแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้สังคมโลกเริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completed Aged Society) ตามลำดับ จากผลการสำรวจ กลุ่มความต้องการในการทำงานของกลุ่มแรงงานหลังเกษียณ (ช่วงอายุ 60-80 ปี) จากกระทรวงแรงงาน พบว่า ร้อยละ 28.4 ยังมีความต้องการในการทำงาน ซึ่งแนวโน้มของกลุ่มอาชีพที่กลุ่มแรงงานวัยเกษียณที่จะดำเนินการประกอบอาชีพต่อ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างร่างกาย สรีรวิทยา และจิตใจของผู้สูงอายุ ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานและความปลอดภัยในการทำงานของผู้สูงอายุ ดังนั้นการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของการทำงาน เช่น อันตรายทางกายภาพ อันตรายทางเคมี อันตรายทางชีวกลศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมความพร้อม สำหรับการทำงานในผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างปลอดภัย อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในการปฏิบัติงานอีกด้วย

            สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้จัดทำ T-OSH Application : OSH Self-Screening System for prepare to elderly worker ระบบประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยด้วยตนเอง เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวเข้าสู่แรงงานผู้สูงอายุอย่างปลอดภัยขึ้นในรูปแบบ Web-Application ซึ่งสามารถใช้งานผ่าน Internet Browser ของท่านทั้งในคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเลต เพื่อประเมินความเสี่ยงและให้คำแนะนำเบื้องต้นป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในแรงงานผู้สูงอายุ และส่งเสริมคุณค่าของผู้สูงอายุในการปฏิบัติงานอีกด้วย

         T-OSH Application: ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เตรียมความพร้อมสู่การเป็นแรงงานผู้สูงอายุ (OSH Self-Screening System for Elderly Worker) นี้เป็นเครื่องมือ Checklist สำหรับการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุ จัดทำขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพัฒนาขึ้นเป็นระบบเว็บแอปพลิเคชันโดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่ยงในการทำงานของผู้สูงอายุเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงความเสี่ยงในการทำงาน เตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะทำงานต่อนำไปพิจารณาตัดสินใจในการทำงานปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เอื้อต่อการทำงาน หรือดูแลร่างกายตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ระบบนี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ที่มีความสนใจและต้องการที่จะทำงานต่อหลังจากการเกษียณอายุงาน

แบบประเมินนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  Part A :   ข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อคำถาม

  Part B :   ความเสี่ยงในการทำงาน และลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 11 ข้อคำถาม

  Part C :   ความเสี่ยงด้านภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 6 ด้าน ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกายภาพ ความเสี่ยงด้านชีวภาพ ความเสี่ยงด้านเคมี ความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ ความเสี่ยงด้านจิตสังคม และความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหมด 30 ข้อคำถาม

          โดยหลังจากการประเมินนี้จะแสดงระดับความเป็นอันตรายออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง ความเสี่ยงค่อนข้างสูง และความเสี่ยงสูงมาก หลังจากประเมินแล้วระบบจะแสดงข้อแนะนำที่เหมาะสมในการป้องกันการประสบอันตรายที่เกิดขึ้น

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

• สำนักวิจัยและพัฒนา
• หมายเลขโทรศัพท์ 02 448 9111 ต่อ 603 หรือ 06 1420 1371
• เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ : คุณพฤทธิพงศ์ สามสังข์

   แนวคิด   

การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

      อุบัติเหตุจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานจะมีแนวโน้มลดลง แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นยังคงพบเป็นข่าวรายวันและเป็นอุบัติเหตุจากการทำงาน ที่มีความรุนแรง จนทำให้ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ยังคงทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน  รวมไปถึงการเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุมีมากน้อยเพียงไร  หากจะพิจารณาถึงสาเหตุหลักๆ คงต้องแบ่งออก ดังนี้

•  เครื่องมือ  เครื่องจักร  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่ใช้ประกอบการทำงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนการทำงานมากขึ้น  หากผู้ใช้งานขาดการศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้งาน  ก็อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

•  ผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนักถึงอันตราย ใช้ความเคยชินในการปฏิบัติงาน ขาดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย


   แนวทาง  

การดำเนินงานสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของ สสปท.

      วัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture) เป็นการมองถึงพฤติกรรม ของคนในสังคม ที่แสดงถึงลักษณะ และทัศนคติเกี่ยวกับความปลอดภัยที่บุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ยึดถือและปฏิบัติตามกันมา ความเชื่อ และความรู้สึก จนเป็นแนวปฏิบัติและวัฒนธรรม ความปลอดภัยเดียวกัน หากต้องการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยหลายองค์ประกอบ โดยบุคลากรทุกระดับต้องร่วมกันสร้างและขับเคลื่อน ความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปปรับใช้กับงานต่าง ๆ ได้ โดยเริ่มที่การสร้างค่านิยมของแต่ละบุคคล

      ในปี 2565 สสปท. ได้วางแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยและสุขภาพ อนามัยในการทำงาน ด้วยการสร้างค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยร่วมกัน (Safety Shared Values) ตามแนวทางปฏิบัติ 3 ข้อ ได้แก่ สติรู้ตัว วินัยถูกต้อง และเอื้ออาทรใส่ใจ

      การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ควรเริ่มต้นที่บุคลากรทุกระดับ โดยนำค่านิยมหลักด้านความปลอดภัยทั้ง 3 ด้าน มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตประจำวันจนเคยชิน และต่อเนื่องจนเกิดค่านิยมร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่ยั่งยื่น

สื่อความรู้เกี่ยวกับ MDC

บทความ

สื่อ VDO

หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Academic Service Charge : Inhouse OSH Training Course

          ด้วยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) หรือ สสปท. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ การกำกับดูแลของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ โดยมีพันธกิจที่ดำเนินการ คิือ การพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม การพัฒนาบุคลากร และให้บริการวิชาการในงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อรองรับความจำเป็นในการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาความปลอดภัยฯ ระดับประเทศ

          สสปท. จึงได้ดำเนินการจัดทำ "หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Academic Service Charge : In-House OSH Training Course) " โดยให้บริการจัดฝึกอบรมภายในสถานประกอบกิจการ ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้เชิงเทคนิค วิชาการในงานด้านความปลอดภัย ให้กับเจ้าหน้าที่ในสถานประกอบกิจการ อาทิ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ที่สนใจ เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้
 

หลักสูตรการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ (OSH Management System Course)

ชื่อหลักสูตร
:
มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 
 
 
(T-OSH OSHMS: 2019)
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
50 คน
ราคา
:
30,000 บาท

ชื่อหลักสูตร
:
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน กรณีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
 
 
Mandatory course on OSH for New Employee
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
50 คน
ราคา
:
30,000 บาท

หลักสูตรการวิเคราะห์ ประเมินด้านความปลอดภัยฯ (OSH Analysis and Evaluation Course)

ชื่อหลักสูตร
:
การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
 
 
OSH Risk Management
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
30 คน
ราคา
:
30,000 บาท

ชื่อหลักสูตร
:
การวิเคราะห์องค์กรเพื่อการจัดการความเสี่ยงและโอกาสต่อระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
 
 
Organizational Management Analysis of OSH Risk and Opportunity
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
30 คน
ราคา
:
30,000 บาท

หลักสูตรการพัฒนาทักษะ ความชำนาญเฉพาะงาน ด้านความปลอดภัยฯ (OSH Competence/Skill Course)

ชื่อหลักสูตร
:
ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงและการกู้ภัยบนที่สูง
 
 
Safety in Working at Height and Rescue
ระยะเวลาอบรม
:
12 ชั่วโมง (2 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
20 คน
ราคา
:
50,000 บาท
   *ให้บริการในเขตจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูล

ชื่อหลักสูตร
:
สร้างวัฒนธรรมปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยที่ยั่งยืน
 
 
Safety Culture for Sustainable Safety
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
30 คน
ราคา
:
30,000 บาท

ชื่อหลักสูตร
:
การ “โค้ช” เพื่อความปลอดภัย
 
 
Safety Coaching
ระยะเวลาอบรม
:
6 ชั่วโมง (1 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
30 คน
ราคา
:
30,000 บาท

ชื่อหลักสูตร
:
การป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม สำหรับผู้ปฎิบัติงานคอมพิวเตอร์
 
 
Office Syndrome Administration of Working with Computer
ระยะเวลาอบรม
:
12 ชั่วโมง (2 วัน)
จำนวนผู้อบรม
:
30 คน
ราคา
:
50,000 บาท

หมายเหตุ :

  1. ทุกหลักสูตรยกเว้น C001 พิจารณา ค่าธรรมเนียมให้บริการวิชาการ ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล สำหรับ C001 ในเขตจังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล หากนอกเหนือจากพื้นที่ฝึกอบรมที่กำหนด ค่าธรรมเนียมพิจารณาเพิ่มเติม เป็นรายกรณี
  2. ทุกหลักสูตร เป็นการคิดค่าธรรมเนียนมในการจัดฝึกอบรม ในพื้นที่สถานประกอบกิจการ (In-house training course)

 

สอบถามเพิ่มเติม

• โทร 061-4201372 , 061-4201373